BHRC Research Weekly

Data Governance (ธรรมาภิบาลข้อมูล) คืออะไร

ธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance) หากพูดโดยสรุปก็คือ การกำหนดสิทธิในการตัดสินใจและความรับผิดชอบ ในการส่งเสริมให้เกิดกระบวนการจัดทำ การใช้งาน และการบริหารจัดการข้อมูล รวมถึงกระบวนการที่กำหนดบทบาท นโยบาย และมาตรฐานที่ช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานเกี่ยวกับข้อมูลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลให้หน่วยงานสามารถบรรลุเป้าหมายได้

ทำไมต้องมีการธรรมาภิบาลข้อมูล และข้อดีของการธรรมาภิบาลข้อมูล คือ

1.กฎหมายหรือกฎระเบียบที่ต้องปฏิบัติตาม (Privacy Laws, Regulatory and Standards) เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 General Data Protection Regulation (GDPR) หรือ Health Insurance, Portability, Accountability Act (HIPPA)

2.ลดค่าใช้จ่ายและทำให้เกิดประสิทธิภาพทางด้านกระบวนการ (Cost Advantages and Process Efficiency) โดยลดการสร้างฐานข้อมูล การใช้เครื่องมือ การส่งข้อมูลหรือการใช้ข้อมูลจากภายนอกที่ไม่จำเป็น และลดการตรวจสอบคุณภาพข้อมูลดแบบ manual

3.สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive Advantage) โดยสามารถแสดงผลข้อมูลและทำการวิเคราะห์ข้อมูลได้ง่ายขึ้น จึงทำให้การสร้างกลยุทธทางธุรกิจทำได้ง่ายขึ้น

องค์ประกอบของการธรรมาภิบาลข้อมูล มีดังนี้

1.คณะกรรมการขับเคลื่อนการธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance Steering Committee) เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการขับเคลื่อนให้เกิดการกำกับดูแลข้อมูลโดยมีหน้าที่รับผิดชอบในการกำกับดูแล สนับสนุน และระดมทุนของกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ส่วนใหญ่คณะกรรมการจะเป็นผู้บริหารระดับสูงของแต่ละหน่วยงานมาดำเนินงานร่วมกัน

2.คณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance Council) เป็นกลุ่มบุคคลที่ริเริ่ม และยกระดับการบริหารจัดการการกำกับดูแลข้อมูลภายในหน่วยงาน ซึ่งคณะกรรมการจะเป็นผู้บริหารจากฝ่ายงานต่าง ๆ ทั้งจากฝ่ายบริหารและฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงระดับหัวหน้างาน ทำหน้าที่จัดทำและตัดสินใจในเชิงนโยบาย

3.สำนักงานกำกับดูแลข้อมูล (Data Governance Office) มีหน้าที่ในการนิยามข้อมูลและมาตรฐานข้อมูลในภาพรวมของทั้งหน่วยงาน โดยการประสานงานกับบริกรข้อมูล (Data Stewards) บริกรข้อมูลด้านเทคนิค (Technical Data Stewards) และเจ้าของข้อมูล (Data Owner)

4.ทีมบริกรข้อมูล (Data Steward Team) กลุ่มบุคคลที่มุ่งเน้นการดำเนินงาน และกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องประกอบไปด้วย : บริกรข้อมูล (Data Stewards), บริกรข้อมูลด้านเทคนิค (Technical Data Stewards) และนักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst)

ครั้งต่อไปจะมาพูดถึง data privacy, personally identifiable information (PII) และ data de-identification กันครับ

Authors เนื้อหาโดย : ผศ.ดร.โษฑศ์รัตต ธรรมบุษดี , เรียบเรียงโดย : วรุตม์ วิเศษจินดา