BHRC Research Weekly

เทคนิคการผ่าตัดแบบไหน ทำให้เห็นพื้นที่ข้อในข้อศอกมากกว่ากัน

ปัญหาการเปรียบเทียบพื้นที่ส่วนต่างๆของร่างกายมีอยู่เสมอๆ การวัดพื้นที่ของอวัยวะที่มีความโค้งนูนหรือเว้านั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ในทางศัลยศาสตร์ออร์โธปีดิกส์ก็เช่นกัน ศัลยแพทย์ที่ทำการผ่าตัด จำเป็นต้องได้เห็นพื้นที่กระดูกหรือข้อที่ทำการรักษาให้มากเพียงพอ จึงจะทำการผ่าตัดได้ดี แล้วเราจะวัดพื้นที่ด้วยวิธีไหน เพื่อนำไปใช้เปรียบเทียบเทคนิกการผ่าตัดว่ามีความแตกต่างกัน

ตัวอย่างผลการวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร The Bangkok Medical Journal Volume 15 Number 2 เดือนกันยายนที่ผ่านมา ผู้วิจัยทำการเปรียบเทียบพื้นที่ข้อในข้อศอกที่เห็นได้ (Articular exposure) ในส่วนปลายของกระดูก Humerus

จากการเปรียบเทียบเทคนิกการผ่าตัด Triceps Reflecting Anconeus Pedicle (TRAP) กับ Olecranon Osteotomy พบว่า วิธี TRAP ทำให้เห็นพื้นที่ข้อเพียง 47.75%

ในขณะที่เทคนิค Olecrenon Osteotomy ทำให้เห็นพื้นที่ข้อได้ถึง 57.69% แสดงให้เห็นว่ามากกว่าอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ (p = 0.028, Mann-Whitney-U test)

สรุปงานวิจัยนี้ นอกจากแสดงให้เห็นว่าวิธี Olecrenon Osteotomy ให้ผลการมองเห็นพื้นที่ข้อได้มากกว่าแล้ว วิธีการวัดพื้นที่ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ

กล่าวคือ ผู้วิจัยทำการผ่าข้อศอกของอาจารย์ใหญ่ (Cadavers) จำนวน 10 ข้อ ซึ่งได้รับการสุ่มเลือก 5 ข้อใช้เทคนิค TRAP อีก 5 ข้อใช้เทคนิค Olecrenon Osteotomy แล้วทำการระบายสีพื้นที่ข้อที่มองเห็นด้วยสีเหลืองจากนั้นผ่าต่อเพื่อแยกข้อออกมาแล้วระบายสีพื้นที่ข้อที่มองไม่เห็นในช่วงแรกด้วยสีน้ำเงิน จากนั้นทำการวัดพื้นที่ทั้งสีเหลืองและสีน้ำเงินด้วยตาข่าย ขนาด 5 x 5 มิลลิเมตร (รูปภาพ) นับจำนวนตารางสีเหลือง และ สีน้ำเงิน มาคำนวณได้ผลดังในตารางด้านล่างนี้

Table 1 Percentage of distal Humerus articular exposure of each elbow

ผู้ที่สนใจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม จากบทความที่ตีพิมพ์แล้วในวารสาร The Bangkok Medical Journal Volume 15 number 2 (August 2019) หน้า 158 – 160

ในชื่อเรื่อง Articular Exposure between TRAP Approach and Olecranon Osteotomy Approach Click

Authors : ไกรวุฒิ เลื่อมประเสริฐ ชัยยศ คุณานุสนธิ์