35 3

สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย

จะเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลาของชีวิต ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการให้คำแนะนำดังต่อไปนี้ อาหารที่ท่านรับประทานมีแร่ธาตุ และวิตามินเหล่านี้หรือไม่? วิตามินดี          มีการวิจัยว่าการขาดวิตามินดีเป็นสาเหตุสำคัญของโรคกระดูกเปราะ ซึ่งจะทำให้หลังค่อมในผู้สูงอายุ กระดูกแตก เปราะ ดังนั้น นมเป็นแหล่งวิตามินดีที่ดีที่สุด ธาตุเหล็ก          ผู้หญิงมีความต้องการธาตุเหล็กมากกว่าผู้ชาย เพราะผู้หญิงมีการเสียเลือดทุกเดือน จากการมีรอบเดือน ซึ่งจะทำให้ร่างกายขาดธาตุเหล็ก และหากได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ท่านจะมีอาการเหนื่อยง่าย หงุดหงิด ไม่มีสมาธิ อาจทำให้เป็นโรคโลหิตจาง อาหารที่มีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบ ได้แก่ อาหารจำพวกเนื้อแดง ปลา ธัญพืช ผักขม พืชกระกูลถั่ว และผักต่าง ๆ แต่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมธาตุเหล็กจากพืชที่มีวิตามินซีสูง เช่น พริกไทย มะเขือเทศ พืชจำพวกมะนาว กะหล่ำปลี และมันฝรั่ง แคลเซียม          เป็นแร่ธาตุสำคัญที่ทำให้กระดูกแข็งแรง ผู้หญิงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปจะสูญเสียมวลกระดูก 1% ทุกปี ซึ่งนำไปสูงสาเหตุของการเป็นโรคกระดูกเปราะ แต่หากท่านรับประทานแคลเซียมอย่างน้อย 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน ก่อนถึงวัยหมดประจำเดือน และ 1,500 มิลลิกรัมหลังวัยหมดประจำเดือน …

สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย Read More »

34 3

สารระเหย

ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พุทธศักราช 2519 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยฉบับที่ 2 พุทธศักราช 2534 แบ่งยาเสพติดออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ 1. ยาเสพติดให้โทษ 2. วัตถุออกฤทธิ์ และ 3 สารระเหย สำหรับสารระเหย ได้แก่ สารที่ได้มาจากขบวนการผลิตน้ำมันปิโตรเลียม มีลักษณะเป็นไอ ระเหยได้ในอากาศ ซึ่งเมื่อสูดดมเข้าไปจะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย สารระเหยที่มีผู้นำมาเสพโดยการสูดดมมีหลายอย่าง เช่น ทินเนอร์ น้ำมันเบนซิน แล็กเกอร์ กาวยางน้ำ น้ำยาล้างเล็บ สีกระป๋องสำหรับพ่น วัยรุ่นจำนวนมากที่หลงผิดหันไปสูดดมสารระเหย โดยไม่รู้ว่าสารระเหยมีพิษร้ายแรงกว่าเฮโรอีนและทำให้เกิดความพิการอย่างถาวรแก่อวัยวะในร่างกาย ไม่สามารถบำบัดรักษาให้หายเป็นปกติได้ โทษและภัยของสารระเหยที่มีต่อร่างกาย อาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ           1. โทษที่เกิดขึ้นทันทีทันใด พิษของสารระเหยทำให้เกิดอาการต่างๆ มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของสารระเหยและปริมาณที่เสพ ถ้าเสพในปริมาณสูงเกินขนาดจะทำให้หัวใจหยุดเต้น บางรายทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดหัวใจวายเสียชีวิตได้          2. โทษที่เกิดขึ้นจากการเสพในระยะเวลานาน สารระเหยจะเข้าไปทำลายระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกาย ทำให้เสื่อมสมรรถภาพ เช่นทำลายระบบทางเดินหายใจ เกิดการอักเสบของหลอดลม เยื่อบุจมูกมีเลือดออก …

สารระเหย Read More »

33 2

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ในปัจจุบันมีสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ปลอดภัยให้เลือกใช้ในท้องตลาดอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดจะมีข้อดี-ข้อด้อยแตกต่างกันไป ดังนั้นถ้าเรามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็จะทำให้เราสามารถ เลือกใช้สารให้ความหวานเหล่านี้ได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ สารให้ความหวานแทนน้ำตาลชนิดที่ให้พลังงาน ได้แก่ ฟรุกโทส ซึ่งเป็นน้ำตาลจากผลไม้ มอลทิทอล ซอร์บิทอล และไซลิทอล สารให้ความหวานกลุ่มนี้ ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก และผู้ป่วยโรคเบาหวาน ส่วนสารให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงานหรือให้พลังงานต่ำ ได้แก่ ซูคราโลส สตีเวีย ซึ่งเป็นสารสกัดจากหญ้าหวาน แอสปาแตม อะซิซัลเฟม-เค แซคคารีนหรือที่เรียกว่าขัณฑสกร สารให้ความหวานกลุ่มนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก และผู้ป่วยโรคเบาหวาน สารให้ความหวานแทนน้ำตาล (sweetener) เป็นสารเคมีที่ใช้กันมากอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งให้รสหวานแต่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ และไม่ให้พลังงาน ใช้แทนที่น้ำตาลซึ่งผู้ป่วยโรคเบาหวานใช้ไม่ได้ จึงเป็นสารที่มีคุณค่าทางการแพทย์ นอกจากนั้นยังใช้เป็นเครื่องปรุงรสอาหารสำหรับผู้เป็นโรคอ้วนและใช้ในอุตสาหกรรมผลิตอาหาร เพื่อลดต้นทุนการผลิตพระราชบัญญัติอาหาร สารให้ความหวานแทนน้ำตาลถูกจัดเป็นอาหารควบคุมเฉพาะตามพระราชบัญญัติอาหารปี พ.ศ. 2522 และใช้อักษรย่อว่า “คน” ปัจจุบันมีอยู่ 2-3 ยี่ห้อในท้องตลาด โดยทุกยี่ห้อใช้สารทดแทนหลักเหมือนกันคือแอสปาเทม (aspartame) แอสปาเทมประกอบด้วยกรดอะมิโน 2 ชนิดต่อกัน คือ ฟินิลอลานิน (phenylalanine) และกรดแอสปาติก (aspartic acid) แอสปาเทมให้ความหวานประมาณ …

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล Read More »

32 3

สารเมลามีน

สารเมลามีน (melamime)มีสูตรโครงสร้างทางเคมีที่มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ แต่เมลามีนก็ไม่ใช่สารอาหารโปรตีน สารเมลามีนมีสูตรทางเคมีว่า C3H6N6 ซึ่งหมายความว่า ทุกๆ หนึ่งโมเลกุลของสารเมลามีน ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน 3 อะตอม ธาตุไฮโดรเจน 6 อะตอม และธาตุไนโตรเจน 6 อะตอม สารเมลามีนมีชื่อทางเคมีว่า 1,3,5-triazine-2,4,6-triamine ซึ่งเป็นสารอินทรีย์ที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบสูงถึงร้อยละ 66           สารเมลามีนเป็นสารที่ใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติกหรือใช้ทำกาว แต่เมลามีนไม่ได้เป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตอาหาร เนื่องจากสารเมลามีนนี้มีคุณสมบัติทนความร้อน จึงนิยมใช้ทำผลิตภัณฑ์พลาสติก ไม่ว่าจะเป็นภาชนะพลาสติก ถุงพลาสติก น้ำยาดับเพลิง น้ำยาทำความสะอาด กาว หมึกสีเหลือง รวมถึงพบในยาฆ่าแมลงด้วย ส่วนใหญ่เราจะคุ้นเคยกับถ้วยชามเมลามีนหรือจานเมลามีนที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป           สารเมลามีนเป็นผงสีขาว ลักษณะคล้ายนมผงจนแยกไม่ออก เมื่อนำไปละลายน้ำ หรือผสมในนมจะตรวจพบปริมาณไนโตรเจนสูงซึ่งการจะตรวจว่าน้ำนมนั้นมีโปรตีนสูงหรือไม่ จะวัดจากค่าของไนโตรเจน ดังนั้นถ้าผสมสารเมลามีนซึ่งมีไนโตรเจนสูงเข้าไปในน้ำนม จะถูกทำให้เข้าใจว่าน้ำนมมีโปรตีนสูง พิษของสารเมลามีน           – ฤทธิ์ของสารเมลามีนนั้น ไม่จำเป็นต้องรับประทานเข้าไปโดยตรง เพียงแค่สูดดมเข้าไป หรือผิวหนังสัมผัสก็ทำให้เกิดการระคายเคือง จนส่งผลให้ผิวหนังอักเสบได้แล้ว เมื่อรับประทานเข้าไป ร่างกายไม่สามารถย่อยสารเมลามีนได้ ไตจึงไม่สามารถขับสารพิษออกมาทางปัสสาวะ           – …

สารเมลามีน Read More »

31 3

สารเคอร์คิวมินอยด์ (curcuminoid)

สารสำคัญในขมิ้นชัน คือ สารเคอร์คิวมินอยด์ (curcuminoid) ขณะนี้ทางองค์การเภสัชกรรมผลิตเป็นอาหารเสริม “จีพีโอ เคอร์มินท์” ชนิดแคปซูลในขนาดความเข้มข้นสูงร้อยละ 80 ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย ต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง และยังมีผลิตภัณฑ์ใหม่จากขมิ้นชันเป็นครีมเพื่อบำรุงผิวพรรณ ครีม “จีพีโอ เคอร์มินท์” มีสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความแก่สูงกว่าวิตามินอีถึง 58 เท่า คณะกรรมการสมุนไพรแห่งชาติฯ พิจารณาเป็น “โปรดักส์ แชมเปี้ยน” ของประเทศ มั่นใจศักยภาพขมิ้นชันสร้างรายได้เทียบเท่าโสมเกาหลี           สารเคอร์คิวมินอยด์ในขมิ้นชันมีประโยชน์หลายด้าน โดยเฉพาะช่วยขจัดมลพิษในกระแสเลือด (anti-oxidant) ซึ่งจะมีมากขึ้นตามอายุ เนื่องจากเซลล์ร่างกายที่มีการแตกตัวและย่อยสลายไป โดยเฉพาะผู้เป็นโรคโลหิตจางบางกลุ่มที่มีการแตกสลายของเม็ดเลือดแดง จากการทดลองกับผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียที่โรงพยาบาลศิริราช          พบว่า ถ้ารับประทานจีพีโอ เคอร์มินท์ ขนาด 250 มิลลิกรัมทุกวันเช้าเย็น เป็นเวลา 6 เดือนมลพิษในกระแสเลือดจะลดลงร้อยละ 30 ทั้งนี้ มลพิษที่อยู่ในกระแสเลือดถ้ามีจำนวนมากจะไปจับเซลในร่างกาย ทำให้เซลเสื่อมเร็ว เซลอักเสบและเป็นมะเร็งในที่สุด สารสำคัญในขมิ้นชันจะช่วยทำให้ปริมาณมลพิษรวมทั้งคอเรสเตอรอลลดลง ซึ่งคนสูบบุหรี่ดื่มสุราจะมีมลพิษในกระแสเลือดมาก           ขมิ้นชันใช้ป้องกัน และรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ การที่เหง้าขมิ้นชันสามารถป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ โดยไปกระตุ้นให้หลั่งสารเมือกออกมาเคลือบกระเพาะอาหาร …

สารเคอร์คิวมินอยด์ (curcuminoid) Read More »

30 3

สายพันธุ์ของเชื้อไวรัส เอชไอวี

สายพันธุ์ของเชื้อไวรัส เอชไอวี เป็นเชื้อที่กลายพันธุ์ได้รวดเร็วมาก เกิดมิวเตชันแทบตลอดเวลา ในร่างกายของผู้ติดเชื้อจะพบเชื้อไวรัสเอชไอวีสายพันธุ์ต่างๆ ในตัวคนเดียวกัน การจัดจำแนกชนิดของเชื้อไวรัสเอชไอวีใช้ข้อมูลรหัสพันธุกรรมที่มีความคล้ายคลึงกัน สามารถแบ่งออกเป็น types, groups และsubtypes เชื้อไวรัสเอชไอวีตรวจพบครั้งแรกในเลือดของผู้ป่วยชาวคองโกในปี 1959ปัจจุบันพบว่าเชื้อไวรัสเอชไอวีมี 2 ชนิด คือ HIV type 1 (HIV-1) และ HIV type 2 (HIV-2) จากการศึกษาจีโนมของไวรัสเอชไอวีทั้งสองชนิด ย้อนหลังไปหลายสิบปี พบว่าเชื้อไวรัสเอชไอวี HIV-1 เริ่มติดต่อสู่คนครั้งแรกเมื่อประมาณปี 1930 ส่วนเชื้อไวรัสเอชไอวี HIV-2 เริ่มติดต่อสู่คนครั้งแรกในช่วงทศวรรษ 1940-1950 เชื้อไวรัสเอชไอวีทั้งสองชนิดมีลักษณะทางพันธุกรรมที่ใกล้เคียงกับไวรัสก่อโรคในลิงที่มีชื่อเรียกว่าไวรัสเอสไอวี (SIV) ย่อมาจาก simian immunodeficiency virus ทั้งนี้คำว่า simian หมายถึงสัตว์จำพวกลิง ความแตกต่างระหว่าง HIV-1 และ HIV-2           1.เชื้อไวรัสเอชไอวีชนิด HIV-2 ติดต่อได้ยากกว่าเชื้อไวรัสเอชไอวีชนิด HIV-1           2.ระยะเวลาระหว่างการติดเชื้อครั้งแรกกับเมื่อปรากฏอาการของโรคของเชื้อไวรัสเอชไอวีชนิด HIV-2 …

สายพันธุ์ของเชื้อไวรัส เอชไอวี Read More »

29 3

สาเหตุของอาการหูอื้อหูตึง

อาการหูอื้อ หูตึง หมายถึงการได้ยินไม่ชัด หรือสมรรถภาพการได้ยินลดลง เป็นอาการที่พบได้บ่อยและเป็นอาการนำที่สำคัญของการสูญเสียการได้ยิน โรคหรือความผิดปกติใด ๆก็ตามที่เกิดขึ้นตั้งแต่หูชั้นนอกไปจนถึงหูชั้นใน ทำให้เกิดอาการหูอื้อหูตึง ได้ทั้งสิ้น ความผิดปกติที่พบได้บ่อยเช่น ขี้หูอุดตัน แก้วหูทะลุหูชั้นกลางอักเสบส่วนในคนสูงอายุพบว่าการได้ยินเสียไปเนื่องจากประสาทหูเสื่อมเป็นส่วนใหญ่พึงระลึกไว้เสมอว่าสาเหตุของอาการหูอื้อ หูตึง มีหลายอย่างและบางอย่างก็อาจแก้ไขให้หายได้จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยก่อนทุกราย           เมื่อเสียงจากภายนอกผ่านรูหูเข้ามา คลื่นเสียงจะทำให้แก้วหูสั่น แล้วส่งผ่านหูชั้นกลางเข้าสู่หูชั้นในซึ่งจะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานเสียงเป็นคลื่นกระแสไฟฟ้านำเข้าสู่สมองหูคนเราประกอบด้วยหูชั้นนอก หูชั้นกลางและหูชั้นใน หูชั้นในแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนมีลักษณะคล้ายก้นหอยทำหน้าที่รับเสียงกับส่วนที่เป็นอวัยวะรูปเกือกม้า 3 อันมารวมกันทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัวหูชั้นในนอกจากจะแบ่งตามหน้าที่แล้วยังแบ่งตามโครงสร้างเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นกระดูก กับส่วนที่เป็นเยื่อหุ้มภายในส่วนที่เป็นกระดูกจะห่อหุ้มส่วนที่เป็นเยื่อหุ้มภายในภายในส่วนเยื่อหุ้มภายในจะมีของเหลวอยู่           เราอาจแบ่งระดับความรุนแรงของการสูญเสียการได้ยินเป็น หูตึงน้อย หูตึงปานกลาง หูตึงมากถึงหูตึงรุนแรงและหูหนวก โดยใช้หน่วยวัดการได้ยินที่เรียกว่า เดซิเบล เป็นตัวกำหนดมาตรฐานคนปกติมักมีระดับการได้ยินที่ 25 เดซิเบลหรือน้อยกว่าพวกหูตึงค่าความดังนี้จะเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อย ๆและพวกที่หูหนวกมีระดับการได้ยินเสียไปมากกว่า 90 เดซิเบล           ปัญหาหูหนวกหูตึงย่อมมีผลต่อการพูดคุย และการสื่อความหมาย รวมไปถึงผลกระทบทางสังคมกับคนข้างเคียงยิ่งในเด็กแล้วผลที่ตามมาอันใหญ่หลวงคือทำให้ไม่สามารถพัฒนาการเรียนรู้ทางด้านภาษาและการพูดให้สมบูรณ์สอดคล้องกับวัยได้เสียงที่ดังเกินไปอาจจะมีผลทำให้หูตึงชั่วคราวหรืออาจทำให้หูตึงหรือประสาทหูเสื่อมแบบถาวรหูตึงชั่วคราวมักเกิดภายหลังจากที่ไปได้ยินเสียงดัง ๆ ในช่วงไม่นานนัก เช่นหลังเทศกาลตรุษจีนที่มีการจุดประทัดกัน ส่วนหูตึงแบบถาวรมักพบในพวกที่ได้รับเสียงดังติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ เช่นพวกที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีเสียงดังอยู่ตลอดเวลาเสียงที่ดังนี้นอกจากจะมีผลต่อการได้ยินแล้ว ยังมีผลต่อร่างกายอีกหลายด้านเช่น อาจรบกวนการนอน รบกวนประสิทธิภาพในการทำงาน …

สาเหตุของอาการหูอื้อหูตึง Read More »

28 3

สาเหตุของโรคเก๊าท์

โรคเก๊าท์ (gout) เกิด จากการที่ระดับของกรดยูริคสูงในเลือด ซึ่งเป็นผลมาจากการสะสมกรดยูริคในร่างกายจำนวนมาก โดยเฉลี่ยแล้วกรดยูริคจะตกผลึกเมื่อระดับของกรดยูริคในเลือดมากเกิน 6.8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร การที่ร่างกายมีกรดยูริคสะสมมากกว่าปกติ เป็นระยะเวลานาน ก็จะไปตกตะกอนอยู่บริเวณรอบๆ ข้อ หรือภายในข้อ ทำให้เกิดการอักเสบขึ้น โรคเก๊าท์เกิดจากการที่มีระดับของกรดยูริคในเลือดสูง และไปตกเป็นผลึกเรียกว่า ผลึกยูเรท อยู่ตามเนื้อเยื่อต่างๆ โดยเฉพาะที่ข้อ บริเวณใกล้ข้อและที่ไต การที่จะเกิดการตกเป็นผลึกยูเรทตามเนื้อเยื่อต่างๆ ได้นั้นขึ้นอยู่กับสองปัจจัย คือระดับกรดยูริคในเลือด และสภาพของเนื้อเยื่อ ซึ่งเอื้อให้เกิดการตกผลึกเป็นผลึกยูเรท สภาพของเนื้อเยื่อของแต่https://www.bangkokhealth.com/cimages/gout01.jpgละ คนไม่เหมือนกัน ระดับของกรดยูริคในเลือดยิ่งสูงเท่าไร โอกาสตกเป็นผลึกก็มากขึ้น บางคนระดับกรดยูริคในเลือดไม่สูงมาก แต่ก็เกิดการตกเป็นผลึกยูเรทได้ เนื่องจากเนื้อเยื่อของคนคนนั้น เอื้ออำนวยให้เกิดการตกเป็นผลึกยูเรท โรคนี้พบได้บ่อย หากได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะได้รับประโยชน์มาก แต่หากไม่ได้รับการรักษา หรือได้รับการรักษาไม่ถูกต้อง ผู้ป่วยอาจต้องพบกับการพิการทางข้อ และหรือไตวายเรื้อรังได้ สารพิวรีน           กรดยูริกเกิดจากการย่อยสลายสารพิวรีน ซึ่งพบได้ในเนื้อสัตว์ ข้าวสาลี เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ เซี่ยงจี้ เป็นต้น ร่าง กายจะย่อยพิวรีนจนกลายเป็นกรดยูริค และจะขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะ ในคนปกติกรดยูริคจะถูกสร้างขึ้นในอัตราช้าพอที่ไตจะขับออกได้หมดทันกับการ สร้างขึ้นพอดี ในคนที่เป็นโรคเก๊าท์ …

สาเหตุของโรคเก๊าท์ Read More »

27 3

สะอึก

หลายๆ ท่านคงจะมีประสบการณ์ในการ “สะอึก” มาบ้างแล้ว และทราบดีว่าการที่จะทำให้หยุดสะอึกอย่างจงใจนั้นไม่สามารถจะกระทำได้ การสะอึก (hiccup) เป็นอาการที่เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อกระบังลมที่อยู่ตรงรอยต่อระหว่าง ช่องปอดและช่องท้องที่เกิดขึ้นเองโดยไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เกิดการหายใจเอาอากาศเข้าไปก่อน และจะหยุดหายใจเข้านั้น ทันทีทันใด เนื่องจากทางเข้าหลอดลมจะปิด ทำให้เสียงดังของการสะอึกเกิดขึ้นทุกครั้งไป อาการสะอึกเกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อกะบังลมที่อยู่ตรงรอยต่อ ระหว่างช่องปอด และช่องท้องที่เกิดขึ้นเองได้โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่คาดว่าเกิดจากมีสิ่งมากระตุ้นเส้นประสาท 2 เส้น คือ เส้นประสาทเวกัส vagus nerve และเส้นประสาทฟรีนิก phrenic nerve ซึ่งเป็นส่วนที่เชื่อมระบบประสาทต่อกับระบบทางเดินอาหารส่วนต้น โดยเสียงสะอึกที่เกิดขึ้นมาจากการหายใจออกขณะที่กะบังลมเกิดการกระตุกทันที ทันใด ทำให้เกิดเสียงดังของการสะอึกขึ้น อาการสะอึกอาจเกิดขึ้นเป็นช่วงสั้นๆ และหายไปได้เอง อาจใช้เวลาเป็นวินาทีหรือ 2-3 นาที ซึ่งอาจพบได้บ่อยๆ แต่ถ้าหากสะอึกอยู่นานๆ เป็นครั้งค่อนชั่วโมงหรือเป็นวันๆ อาจจะต้องหาสาเหตุว่ามาจากโรคของอวัยวะต่างๆ ควบคู่กันไปด้วย เช่น โรคเกี่ยวกับอวัยวะในช่องท้อง ในช่องปอด ในระบบสมองและประสาทส่วนกลาง เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสะอึกที่เกิดขึ้นในขณะนอนหลับจะมีความหมายมากกว่าการสะอึกในเวลากลางวัน กลไกการสะอึก 1. ขณะที่หายใจเข้า กะบังลมที่อยู่ตอนล่างของช่องอกจะเคลื่อนลงล่าง ทำให้ปอดขยายตัว และดึงดูดให้อากาศเข้าปอด2. กะบังลมเกิดการกระตุก …

สะอึก Read More »

26 3

สมองฝ่อในผู้สูงอายุ

สมองฝ่อเป็นความผิดปกติของสมอง โดยเฉพาะด้านความจำที่เสื่อมลงไปทีละน้อย มีการเสื่อมของเซลล์สมอง มีจำนวนเซลล์น้อยลง สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบ แต่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุประมาณ 75 ปีขึ้นไป สภาวะเลือดไปเลี้ยงสมองน้อย ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคสมองฝ่อ ในคนสูงอายุที่มีอาการนี้ อาจเกิดจากการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองหลายๆ เส้น เกิดการตายของเซลล์สมองหลายๆ ตำแหน่ง ขนาดไม่ใหญ่ถึงกับทำให้คนสูงอายุนั้นเป็นอัมพาต ไม่มีอาการอะไรรุนแรง นอกจากความจำเสื่อม ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มทีมีแอลกอฮอล์มาก มีส่วนทำให้เกิดโรคสมองฝ่อได้มากกว่าผู้ที่ไม่ดื่ม           ความเสื่อมของร่างกายนั้นเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่วัยชรา ไม่เพียงแต่สมองเท่านั้นที่เสื่อมลง อวัยวะอื่นๆ ก็เสื่อมด้วย เช่น ผิวหนังเหี่ยวย่น ผมหงอก ผมร่วง ฟันโยกคลอน ตาฝ้าฟาง หูตึง เป็นต้น “สมองฝ่อ” หมายถึงการที่เนื้อสมองสูญหายไปจำนวนหนึ่ง มักเกิดกับคนชรา ที่จริงแล้วไม่ใช่โรคแต่เป็นความเสื่อมที่เกิดขึ้นตามวัย คนแก่บางคนอายุมากแล้วสมองยังไม่ฝ่อก็มี สมองมนุษย์           สมองมนุษย์มีเซลล์ที่พัฒนามาอย่างวิเศษ เรียกว่า เซลล์ประสาท (neurons) ประมาณ 140,000 ล้านเซลล์ แต่ละเซลล์จะมีกิ่งก้านสาขาเชื่อมติดกับเซลล์ประสาทอื่นๆ ถึง 15,000 จุดเชื่อมต่อ ซึ่งจะเห็นได้ว่า มีความสลับซับซ้อนกว่าคอมพิวเตอร์ที่ว่ายุ่งยากสุดๆ แล้วเสียอีก …

สมองฝ่อในผู้สูงอายุ Read More »

25 4

สมดุลของน้ำในร่างกาย

น้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสิ่งที่มีชีวิต มักมีผู้กล่าวไว้ว่าถ้าปราศจากน้ำก็ปราศจากสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปคนสามารถอดอาหารได้หลายสัปดาห์ แต่ถ้าอดน้ำจะเสียชีวิตภายใน 2–3 วัน การ ศึกษาวิจัยที่ผ่านมาพบว่าน้ำมีประโยชน์มากมายแก่ร่างกายของสิ่งมีชีวิต นอกเหนือจากคุณสมบัติที่เด่นที่สุดของโมเลกุลน้ำที่เป็นตัวทำละลายที่ดีและ มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด น้ำเป็นองค์ประกอบของชีวิต ร่างกายมนุษย์มีน้ำเป็นส่วนประกอบประมาณร้อยละ 70 ในเลือดมีน้ำเป็นองค์ประกอบร้อยละ92 ในสมองมีน้ำเป็นองค์ประกอบร้อยละ 85 ถ้า พิจารณาในแต่ละเซลล์จะมีน้ำเป็นองค์ประกอบร้อยละ 60 จริงๆแล้วน้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญและจำเป็นของเซลล์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นเซลพืชเซลล์สัตว์ และเซลล์มนุษย์ ทุกเซลล์ล้วนประกอบด้วยน้ำทั้งนั้น ในเซลล์มนุษย์และเซลล์สัตว์มีน้ำประมาณ 2 ใน 3 ของน้ำหนักร่างกาย ในพืชบกมีน้ำประมาณร้อยละ 50–75 ถ้าเป็นพืชน้ำอาจมีน้ำมากกว่าร้อยละ 95 โดยน้ำหนัก หน้าที่สำคัญที่สุดของน้ำ คือ เป็นตัวกลางในการเกิดปฏิกิริยาเคมีทุกชนิดในกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกาย ปฏิกิริยาเคมีในร่างกายทุกชนิดต้องอาศัยน้ำ เซลล์จะไม่สามารถทำงานได้ถ้าไม่มีน้ำ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน ได้แก่ กระบวนการการย่อยอาหาร กระบวนการดูดซึมอาหาร และกระบวนการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย น้ำที่เป็นของเหลวของเลือดทำหน้าที่ขนส่งอาหารและออกซิเจนให้แก่เซลล์ อีกทั้งนำของเสียและ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากเซลล์มาขับถ่ายออกจากร่างกาย กระบวนการไหลเวียนเลือดและกระบวนการขับถ่ายของเสียในร่างกายไม่สามารถเกิดขึ้นได้ถ้าปราศจากสมดุลของสารน้ำในร่างกาย น้ำช่วยให้การขับถ่ายกากอาหารในลำไส้ใหญ่เป็นไปโดยสะดวก ความผิดปกติของการถ่ายอุจจาระเกิดขึ้นเนื่องจากขาดสมดุลของการดูดซึมน้ำกลับเข้าสู่เซลล์ลำไส้ เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคอุจจาระร่วงหลายชนิดสร้างสารพิษที่มีผลต่อกลไกการควบคุมสมดุลสารน้ำภายในลำไส้สาร พิษ รวมทั้งสารเคมีในร่างกายที่อาจเป็นพิษ ถูกกำจัดออกจากร่างกายโดยอาศัยน้ำ เลือดทำหน้าที่ขนส่งสารเหล่านั้นไปทั่วร่างกายซึ่งสารนั้นละลายในน้ำตับเป็นอวัยวะสำคัญในการทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสารพิษด้วยกลไกทางเคมีมากมายหลายชนิด บางคนกล่าวเปรียบเทียบว่าตับเป็นโรงงานผลิตเอนไซม์ที่ทรงพลังมากกว่าโรงงานใดๆในโลก …

สมดุลของน้ำในร่างกาย Read More »

24 3

สถานการณ์โรคกระดูกพรุนปี 2555 : หักครั้งเดียวก็เกินพอ

วันกระดูกพรุนโลก (World Osteoporosis Day 2012)           ปัจจุบันโรคกระดูกพรุนนับเป็นโรคกระดูกเมตาบอลิก (Metabolic bone disease) ที่พบบ่อยที่สุดโดยผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และพบว่าในปีหนึ่งๆ มีผู้สูงอายุนับล้านคนที่กระดูกสะโพกหักจากการหกล้มธรรมดาและอีกนับล้านคนมีกระดูกส่วนอื่นหัก ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ที่กระดูกหัก 1 ครั้งจากโรคกระดูกพรุนมักเกิดกระดูกหักซ้ำอีกทั้งหลายโรงพยาบาลเมื่อเจอผู้ป่วยที่กระดูกหักครั้งแรกก็ละเลยการตรวจวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีโรคกระดูกพรุนหรือไม่ พบว่าร้อยละ 80 ของผู้ป่วยที่กระดูกหักครั้งแรก ยังไม่เคยตรวจหรือรักษาโรคกระดูกพรุน           ด้วยเหตุนี้องค์การอนามัยโลกโดยการริเริ่มของมูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ (International Osteoporosis Foundation, IOF) จึงได้กำหนดวันกระดูกพรุนโลกขึ้นในวันที่ 20 ตุลาคมของทุกปีโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงโรคกระดูกพรุนทั้งด้านการป้องกัน การวินิจฉัย และการรักษา ซึ่งปัจจุบันมี 90 ประเทศทั่วโลกที่ร่วมกิจกรรมรณรงค์นี้ ข้อความหลักที่ใช้สำหรับรณรงค์ในวันกระดูกพรุนโลกปีนี้ คือ “STOP AT ONE” หักครั้งเดียวพอโดยมุ่งเน้นให้ประชาชนตระหนักว่า          1. กระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนไม่ใช่อุบัติเหตุ           2. การที่กระดูกหักถือว่าเป็นสัญญาณเตือน หักหนึ่งครั้งทำให้หักซ้ำได้อีก           3. ถ้ากระดูกหักเกิดขึ้นเมื่ออายุเกินห้าสิบ จงไปตรวจและรับการรักษา เรื่องจริงที่ควรรู้เกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน           1. ในกลุ่มคนที่อายุเกิน 50 …

สถานการณ์โรคกระดูกพรุนปี 2555 : หักครั้งเดียวก็เกินพอ Read More »

23 3

สงสัยกระดูกหัก

กระดูกของคนเราค่อนข้างแข็ง เพราะเป็นโครงของร่างกาย ดังนั้น กระดูกจะหักได้ต้องมีแรงมากระทำค่อนข้างรุนแรง ยกเว้นในกระดูกของคนสูงอายุ กระดูกจะบางลง แข็งแรงน้อยลง จะหักง่ายแม้มีแรงมากระทำไม่แรงก็ตาม ส่วนใหญ่คนไข้ที่กระดูกหักจะมีประวัติหกล้มมือยันพื้น สะโพกกระแทกพื้น ตกจากที่สูง สิ่งของที่หนักตกลงมากระแทก เล่นกีฬา รถมอเตอร์ไซด์คว่ำ รถยนต์ได้รับอุบัติเหตุ เป็นต้น           ถ้าสงสัยกระดูกหักในกรณีไม่มีแผลเลือดออก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการปวด บวม เพราะมีเลือดออกจากกระดูกที่หัก ถ้ากระดูกหักแล้วมีการเคลื่อนที่ของปลายกระดูกที่หักจะทำให้ร่างกายส่วนนั้นผิดรูปไป เช่นข้อมือหักก็จะเห็นข้อมือบิดเบี้ยวไป รูปร่างไม่เหมือนเดิม หรือแขนหัก บางครั้งจะเห็นแขนตรงที่หักโก่งเป็นมุมได้อย่างชัดเจน แต่ถ้ากระดูกหักแล้วไม่เคลื่อนที่ออกจากกัน อาจจะไม่ผิดรูปร่างไป มีแต่ปวดบวม และถ้ากดไปบริเวณนั้นจะมีอาการเจ็บด้วย บางทีคนไข้เองหรือผู้ที่มาช่วยเหลือ อาจจะรู้สึกว่าปลายกระดูกที่หักมีการเสียดสีกัน ส่วนกรณีที่หักแล้วมีบาดแผลเลือดออก บางครั้งจะเห็นกระดูกทะลุออกมานอกเนื้ออย่างชัดเจน ซึ่งกระดูกหักชนิดมีแผลทะลุออกมานี้ ค่อนข้างจะรักษายากและมีผลแทรกซ้อนทำให้เกิดการติดเชื้อของกระดูกได้ง่าย           สำหรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ท่านสามารถช่วยได้ โดยหาไม้หรือวัสดุที่แข็งมารองส่วนที่หักและพันดามไว้ให้อยู่นิ่ง ๆ ถ้าหาไม่ได้จริง ๆ ให้เอาหนังสือพิมพ์หลาย ๆ ชั้น มาม้วนให้กลมเป็นแท่ง ๆ จะทำให้มีความแข็งแรงพอที่จะใช้ดามแขนขาได้ ในกรณีที่สงสัยว่าจะกระดูกหัก ผู้ป่วยควรจะถูกนำไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัย บางครั้งแพทย์อาจจะต้องเอ๊กซเรย์กระดูก เพื่อดูว่ากระดูกหักแล้วเคลื่อนที่มากน้อยแค่ไหน เพื่อเตรียมการรักษาที่ถูกต้อง …

สงสัยกระดูกหัก Read More »

22 3

สเต็มเซลล์คืออะไร

สเต็มเซลล์ (Stem Cell) หรือที่เรียกว่าเซลล์ต้นกำเนิด เป็นเซลล์อ่อนที่พร้อมจะเจริญเติบโต แบ่งตัวเองขึ้นมาใหม่ และเปลี่ยนแปลงเพื่อไปทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง เซลล์แต่ละเซลล์ในร่างกายของมนุษย์จะทำหน้าที่จำเพาะอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่ย้อนกลับมา ซึ่งเซลล์ที่พัฒนาไปจนสุดทางจนเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจง ตัวอย่างเช่น เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ หรือเซลล์สมอง เซลล์เหล่านี้เมื่อตายไปแล้ว จะไม่มีเซลล์ใหม่มาทดแทน ในขณะเดียวกันร่างกายของคนเราก็ยังมีเซลล์อีกกลุ่มหนึ่งที่สามารถเติบโตได้อีก โดยสเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดพวกนี้สามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจงได้           สเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิด มีคุณสมบัติเด่นที่เป็นปัจจัยให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกสนใจเซลล์ชนิดนี้กันมาก เนื่องจากเป็นเซลล์ที่ไม่ได้ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจง แต่สามารถเปลี่ยนไปเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจงได้ และสเต็มเซลล์เป็นเซลล์ที่มีความสามารถแบ่งตัวเองขึ้นมาใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่า ลักษณะของสเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดในร่างกายคนเรามีความพิเศษหลายประการ ในหลักการทั่วไปถือว่าสเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดแตกต่างจากเซลล์ชนิดอื่นๆ ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นสเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดที่มาจากแหล่งใด อาจจะเป็นสเต็มเซลล์จากตัวอ่อน สเต็มเซลล์จากร่างกาย หรือสเต็มเซลล์ที่ได้มาจากการสร้างเซลล์ให้เข้าคู่กับสารพันธุกรรมของคนไข้ได้ โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการปฎิสนธิ สเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดทุกชนิดจะมีลักษณะพิเศษที่สำคัญ 3 ประการ           1.สเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดสามารถแบ่งตัวเองขึ้นมาใหม่ได้เป็นเวลานาน          2.สเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดเป็นเซลล์ที่ไม่ได้ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจง          3.สเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดมีความสามารถในการเปลี่ยนไปเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจงได้           ในช่วงปี พ.ศ. 2503–2513 ซึ่งถือว่าเป็นยุคแรกๆ ที่นักวิทยาศาสตร์เริ่มทำการศึกษาวิจัยสเต็มเซลล์จากร่างกายโดยใช้เนื้อเยื่อที่โตเต็มวัย และยังได้นำไปทดลองใช้รักษาผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดปฐมภูมิ ในปี พ.ศ. 2511 …

สเต็มเซลล์คืออะไร Read More »

21 3

ศัลยกรรมตกแต่ง…คืออะไร?

ศัลยกรรมตกแต่ง หรือศัลยศาสตร์ตกแต่งเป็นสาขาวิชาหนึ่งของศิลยศาสตร์คือวิชาที่เกี่ยวกับการ ผ่าตัด โดยเน้นเฉพาะการผ่าตัดที่เกี่ยวข้องกับรูปร่างที่จะปรากฏให้เห็นภายนอกร่างกายให้ดูปกติ (FORM) และมีการทำงานที่ดี (Function) โดยจะสามารถแบ่งตามวัตถุประสงค์นี้ออกเป็น 2 ส่วนคือ 1.ศัลยศาสตร์เสริมสร้าง (Reconstructure Plastic Surgery) เป็นการผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติ ของรูปร่างหรือความพิการที่มีมาแต่กำเนิด หรือเกิดขึ้นภายหลังจากอุบัติเหตุ เช่น การผ่าตัด แก้ไข ปากแหว่งเพดานโหว่ การผ่าตัด เนื้องอกบริเวณศรีษะและคอ ศัลยกรรมอุบัติเหตุบริเวณใบหน้า ศัลยกรรมทางมือ อุบัติเหตุจากความร้อน (Burns) รวมทั้งความพิการที่ตามมา 2.ศัลยศาสตร์ตกแต่งเสริมสวย (Cosmetic Plastic Surgery) คือการผ่าตัด เพื่อความสวยงามในคนที่ปกติให้ดูดีขึ้น เช่นการผ่าตัดเสริมจมูก, ตา 2 ชั้น ,ดึงหน้า ,เสริมหน้าอก ,การผ่าตัดด้วยเลเซอร์ เป็นต้น ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)ผู้ประพันธ์

Scroll to Top