สาเหตุของโรคเก๊าท์

โรคเก๊าท์ (gout) เกิด จากการที่ระดับของกรดยูริคสูงในเลือด ซึ่งเป็นผลมาจากการสะสมกรดยูริคในร่างกายจำนวนมาก โดยเฉลี่ยแล้วกรดยูริคจะตกผลึกเมื่อระดับของกรดยูริคในเลือดมากเกิน 6.8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร การที่ร่างกายมีกรดยูริคสะสมมากกว่าปกติ เป็นระยะเวลานาน ก็จะไปตกตะกอนอยู่บริเวณรอบๆ ข้อ หรือภายในข้อ ทำให้เกิดการอักเสบขึ้น โรคเก๊าท์เกิดจากการที่มีระดับของกรดยูริคในเลือดสูง และไปตกเป็นผลึกเรียกว่า ผลึกยูเรท อยู่ตามเนื้อเยื่อต่างๆ โดยเฉพาะที่ข้อ บริเวณใกล้ข้อและที่ไต การที่จะเกิดการตกเป็นผลึกยูเรทตามเนื้อเยื่อต่างๆ ได้นั้นขึ้นอยู่กับสองปัจจัย คือระดับกรดยูริคในเลือด และสภาพของเนื้อเยื่อ ซึ่งเอื้อให้เกิดการตกผลึกเป็นผลึกยูเรท สภาพของเนื้อเยื่อของแต่https://www.bangkokhealth.com/cimages/gout01.jpgละ คนไม่เหมือนกัน ระดับของกรดยูริคในเลือดยิ่งสูงเท่าไร โอกาสตกเป็นผลึกก็มากขึ้น บางคนระดับกรดยูริคในเลือดไม่สูงมาก แต่ก็เกิดการตกเป็นผลึกยูเรทได้ เนื่องจากเนื้อเยื่อของคนคนนั้น เอื้ออำนวยให้เกิดการตกเป็นผลึกยูเรท โรคนี้พบได้บ่อย หากได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะได้รับประโยชน์มาก แต่หากไม่ได้รับการรักษา หรือได้รับการรักษาไม่ถูกต้อง ผู้ป่วยอาจต้องพบกับการพิการทางข้อ และหรือไตวายเรื้อรังได้

สารพิวรีน

          กรดยูริกเกิดจากการย่อยสลายสารพิวรีน ซึ่งพบได้ในเนื้อสัตว์ ข้าวสาลี เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ เซี่ยงจี้ เป็นต้น ร่าง กายจะย่อยพิวรีนจนกลายเป็นกรดยูริค และจะขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะ ในคนปกติกรดยูริคจะถูกสร้างขึ้นในอัตราช้าพอที่ไตจะขับออกได้หมดทันกับการ สร้างขึ้นพอดี ในคนที่เป็นโรคเก๊าท์ พบว่าเกิดความผิดปกติของกระบวนการใช้และขับถ่ายสารพิวรีน

สมดุลของกรดยูริกในร่างกาย

          ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ทั้งหมด เกิดจากการที่กรดยูริคถูกสร้างขึ้น แต่ไตทำหน้าที่ขับถ่ายออกมาได้ช้าหรือน้อย จนทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริคมากขึ้นในร่างกาย และเกิดเป็นโรคเก๊าท์ขึ้น คน ที่เป็นโรคนี้มักจะมีระดับกรดยูริกในกระแสเลือดสูงกว่าปกติ แต่ไม่เสมอไปทุกคน และหลายคนที่มีระดับกรดยูริกสูงในกระแสเลือดกลับไม่มีอาการข้ออักเสบจากโรค เกาต์ ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 10 เกิดจากการที่ร่างกายสร้างกรดยูริคมากเกินไป พบว่ายูริคในเลือดที่สูงนั้น กว่าร้อยละ 90 เกิดจากการสร้างขึ้นในร่างกายเอง อาหารเป็นแหล่งกำเนิดของยูริคในเลือดน้อยกว่าร้อยละ 10 อาหารที่เมื่อรับประทานไปแล้วจะเปลี่ยนไปเป็นกรดยูริคได้มาก เช่น เครื่องในสัตว์ ปลาดุก กุ้ง ไก่ ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วดำ ชะอม กระถิน เป็นต้น สำหรับคนที่มีระดับกรดยูริคในเลือด มากกว่า 7 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แต่ไม่มีข้ออักเสบ ไม่มีปุ่มปมของเก๊าท์ที่เรียกว่า โทฟัส และไม่มีนิ่วทางเดินปัสสาวะ จะไม่เรียกว่าเป็นโรคเก๊าท์ แต่เรียกว่าเป็นบุคคลที่ระดับกรดยูริคสูงชนิดไม่มีอาการ

ปัจจัยทางพันธุกรรม

          พบว่าร้อยละ 18 ของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ จะมีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคเก๊าท์เช่นกัน กลไกการเกิดโรคเก๊าท์เชื่อว่ามีปัจจัยทางพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย พบโรคเก๊าท์นี้มากในสายเลือดเดียวกัน เช่น พี่เป็น น้องเป็น และพ่อเป็น ลูกเป็น เป็นต้น โรคพันธุกรรมที่พบน้อยบางชนิด ทำให้ร่างกายสร้างกรดยูริคออกมาในปริมาณที่มากเกิน ได้แก่hypoxanthine-guanine 1.phosphoribosyl transferase deficiency (Lesch-Nyhan syndrome)
2.glucose-6-phosphatase deficiency (von Gierke disease)
3.fructose1-phosphate aldolase deficiency
4.PP-ribose-P synthetase variants

เพศและกลุ่มอายุ

          โรคเก๊าท์มักเป็นกับผู้ชายวัยสูงอายุ เนื่องจากภาวะกรดยูริคในเลือดที่สูงนั้น จะยังไม่เกิดการตกตะกอน และเกิดข้ออักเสบทันที แต่ต้องใช้ระยะเวลาที่กรดยูริคในเลือดสูงเป็นเวลานานหลายสิบปี พบว่าในผู้ชายที่มีกรดยูริคสูงนั้น ระดับของยูริคในเลือดจะเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น และสูงไปนานจนกว่าจะเริ่มมีอาการคืออายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป ส่วนผู้หญิงระดับยูริคจะเริ่มสูงขึ้นหลังจากวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิงโดยเฉพาะเอสโตรเจนจะมีผลทำให้กรดยูริคในเลือดไม่สูง โดยทั่วไปโรคเก๊าท์พบได้ในเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยทั่วไปก็พบเมื่ออายุมากกว่า 30 ปี ในเพศหญิงส่วนมากก็จะพบแต่ในวัยหมดประจำเดือน ถ้าหากพบโรคเก๊าท์ในเด็กก็ต้องมองหาความผิดปกติของโรคทางพันธุกรรม บางชนิดซึ่งพบได้น้อยมาก

โรคที่พบร่วมกับโรคเก๊าท์

ผู้ป่วยโรคต่อไปนี้ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเก๊าท์มากขึ้น

1.โรคอ้วน คนอ้วนมีโอกาสเป็นโรคเก๊าท์ได้มากกว่าคนผอม
2.โรคเบาหวาน คนไข้โรคเก๊าท์โดยทั่วไปก็พบได้บ่อยว่ามีน้ำหนักตัวมาก และพบโรคเบาหวานได้บ่อย
3.ไขมันในเลือดสูง โรคไขมันในเลือดสูงโดยเฉพาะระดับไขมันไตรกรีเซอไรด์ ซึ่งพบว่าสูงได้ประมาณร้อยละแปดสิบของคนไข้โรคเก๊าท์ทั้งหมด
4.ความดันโลหิตสูง จากการศึกษาวิจัยพบโรคความดันโลหิตสูงร่วมกับโรคเก๊าท์ได้บ่อย
5.โรคหลอดเลือดแข็งผิดปกติ
6.ผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากสารตะกั่ว
7.โรคไตวายเรื้อรัง คน ไข้ที่เป็นโรคไตที่มีสมรรถนะของการทำงานของไตลดลงมากก็เป็นปัจจัยที่ทำให้ ระดับกรดยูริคสูงขึ้น เนื่องจากความสามารถในการขับถ่ายกรดยูริคออกทางปัสสาวะลดลง คนไข้ที่เป็นโรคเก๊าท์อยู่แล้ว และไตเสื่อมลงไปอีกจะทำให้ระดับกรดยูริคสูงขึ้นอีก คนไข้โรคเก๊าท์จะเสียชีวิตจากภาวะไตวายประมาณร้อยละสิบ
8.โรคเลือดชนิด sickle cell anemia, myeloproliferative disease
9.ผู้ป่วยโรคเลือดบางชนิด โรคมะเร็ง โดย เฉพาะมะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือได้รับเคมีบำบัด จะทำให้เซลล์ถูกทำลายมากอย่างรวดเร็ว จะทำให้ระดับกรดยูริคในเลือดสูงมากๆ ได้ ทำให้เกิดโรคเก๊าท์ ข้ออักเสบ นิ่วไต หรือแม้แต่ตัวกรดยูริคเองไปอุดตันตามท่อเล็กๆ ในเนื้อไตทำให้เกิดไตวายได้

เหล้าและแอลกอฮอล์

          การดื่มเหล้า หรือเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเก๊าท์ เนื่องจากไปขัดขวางกระบวนการขับกรดยูริคออกจากร่างกาย อีกทั้งแอลกอฮอล์ช่วยเร่งปฏิกิริยาการสร้างกรดยูริค โดยการเร่งกระบวนการการสลายตัวของสารอะดีโนซีนไตรฟอสเฟตในเซลล์ การดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะการดื่มเบียร์ซึ่งจะทำให้เกิดอาการข้ออักเสบได้ทันที เพราะเบียร์มีสารกวาโนซีนซึ่งเปลี่ยนสภาพเป็นกรดยูริคในร่างกายได้มาก ดังนั้น คนที่มีพฤติกรรมในการดื่ม แอลกอฮอล์ ไวน์หรือเบียร์เป็นประจำ จึงมีโอกาสเป็นโรคเก๊าท์ได้บ่อยกว่าคนที่ไม่มีความประพฤติเช่นนี้ แอลกอฮอล์ทำให้ร่างกายสร้างกรดยูริคขึ้นมามากกว่าปกติ

ยาบางชนิด

          ยาบางชนิดเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคเก๊าท์ โดยจะทำให้ระดับกรดยูริคในเลือดสูง เนื่องจากยาเหล่านี้ไปลดการขับถ่ายกรดยูริคออกทางไต ทำให้เกิดการคั่งของกรดยูริคในเลือด จนกระทั่งทำให้ระดับของกรดยูริคในเลือดสูง

1.แอสไพริน aspirin
2.ยาขับปัสสาวะกลุ่ม thiazide
3.ยารักษาโรคพาร์กินสัน levodopa
4.ยารักษาวัณโรค เช่น ไพราซินาไมด์ หรืออีแธมบูทอล
5.ยากดภูมิคุ้มกัน cyclosporin

นพ. วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
ผู้ประพันธ์

Scroll to Top