จากตอนที่แล้ว ที่เล่าถึงการวิจัยร่วมกันระหว่าง UM กับ ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเรื่องการแยกว่าโรคใดควรจะถูกเรียกว่าเป็น simple disease โดยใช้ค่า RW เป็นตัวแบ่งนั้น ในตอนนี้จะเล่าให้ทราบว่าทำไมค่า RW = 0.4 จึงจะให้ผลดีที่สุด
RW = 0.4 สามารถจำแนกโรคได้ 27 ชื่อจากรายชื่อโรค 31 รายชื่อ คือจำแนกได้ 87% จากทั้งหมด
RW = 0.3 แยกได้ 71% , RW = 0.8 แยกได้ 100% ตรงนี้บางท่านอาจจะสงสัยว่า แล้วทำไมไม่ใช้ RW = 0.8 เลย
เหตุผลคือ การวินิจฉัยตอนต้นที่ว่าเป็น Simple disease นั้น หากมีโรคหรือภาวะแทรกซ้อนก็จะไม่ใช่ Simple disease อีกต่อไป
สี่งที่ต้องเป็นห่วงคือการใช้ค่า RW เหล่านี้ จะทำให้พลาดรายที่มี Complications ด้วยหรือไม่ มากน้อยเพียงไร
คณะผู้วิจัยจึงลองใช้ค่าRW เหล่านี้ศึกษาในข้อมูล Closed chart review ที่มีอยู่ ซึ่งเป็น De-identified medical records จำนวน 1,558 ราย
ได้ผลการจำลองสถานการณ์ ดังในรูปที่ 1, 2 และ 3 (ขอให้เน้นดูแท่งที่ 3 จากซ้ายมือ)
– เมื่อใช้ RW = 0.3 จะมีผู้ป่วยที่มีค่า RW ต่ำกว่า 0.3 จำนวน 895 ราย มีภาวะแทรกซ้อน 8 ราย จากผู้มีภาวะแทรกซ้อนทั้งหมด 202 ราย คิดเป็น 4% หรือ 1/25 ของผู้มีภาวะแทรกซ้อนทั้งหมด
– เมื่อใช้ RW = 0.4 จะมีผู้ป่วยที่มีค่า RW ต่ำกว่า 0.4 จำนวน 1,143 ราย มีภาวะแทรกซ้อน 44 ราย จากผู้มีภาวะแทรกซ้อนทั้งหมด 202 ราย คิดเป็น 22% หรือคิดเป็น 1/5 ของผู้มีภาวะแทรกซ้อนทั้งหมด
– เมื่อใช้ RW = 0.8 จะมีผู้ป่วยที่มีค่า RW ต่ำกว่า 0.8 จำนวน 1,402 ราย มีภาวะแทรกซ้อน 165 ราย จากผู้มีภาวะแทรกซ้อนทั้งหมด 202 ราย คิดเป็น 82% หรือคิดเป็น 4/5 ของผู้มีภาวะแทรกซ้อนทั้งหมด
จะเห็นว่าการใช้ค่าRW = 0.8 แม้จะครอบคลุมภาวะ Simple diseases ได้ดีกว่า แต่ก็นำความเสี่ยงมาด้วย โดยเฉพาะการที่ผู้ป่วยรายนั้นถูกจัดว่าเป็น Simple disease แต่มี Complication การใช้ค่า RW = 0.4 จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด
ผู้สนใจ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากบทความ Rational Classification of Simple Disease Cases in Bangkok Dusit Medical Services Hospitals using Relative Weight and Case Mixed Index ที่ตีพิมพ์ในวารสาร The Bangkok Medical Journal 2019, Volume 15, number 2; September 2019, pages 130 – 139.
Reference : จิณหธาน์ ปัญญาศร ชัยยศ คุณานุสนธิ์