การศึกษาเครื่องมือวัดความหุนหันพลันแล่น ตอนที่ 2

จากตอนที่แล้วกล่าวถึง เครื่องมือที่นำมาใช้วัดระดับความหุนหันพลันแล่น (Impulsivity) คือ แบบสอบถาม Barratt Impulsiveness Scale (BIS) แบบเต็มซึ่งมีข้อคำถาม 30 ข้อ (BIS-11) แบบสั้น 15 ข้อ (BIS-15) และแบบ 8 ข้อคำถาม (BIS-Brief) ที่ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพได้มีส่วนในการนำเครื่องมือนี้มาใช้ในคนไทย โดยทำการศึกษาในอาสาสมัคร 305 คน ในโรงพยาบาลกรุงเทพสำนักงานใหญ่ โรงพยาบาลพญาไท 2 และโรงพยาบาลเปาโลพระปะแดง

พบว่าได้ผลสอดคล้องกันและมีศักยภาพในการนำไปใช้ต่อได้ คือ

  • Cognitive debriefs and face validity ด้วยการแปลไปกลับและปรับปรุงถ้อยคำด้วยผู้ที่รู้และเข้าใจทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยมีขั้นตอนสุดท้ายคล้ายกับวิธี Focus group discussion เพื่อทวนสอบความเข้าใจเพื่อให้ได้ผลตรงกัน และเมื่อศึกษาผลคะแนนของแต่ละ test เมื่อคิดเป็นร้อยละจากคะแนนทั้งหมดก็ได้ผลใกล้เคียงกันได้เครื่องมือที่นำมาใช้แบบฉบับเต็ม 30 ข้อภาษาไทย (BIS-11T) ฉบับสั้น 15 (BIS-15T) และฉบับย่อ (BIS-BriefT)
  • ทดสอบความสอดคล้องภายใน (Internal consistency) ด้วยสถิติ Cronbach’s Alpha ได้ค่าสูงกว่า 0.80 ทั้ง 3 แบบ (BIS-11T=0.86, BIS-15T=0.81 และ BIS-BriefT=0.81) และทดสอบความเชื่อมั่นด้วยการทดสอบซ้ำ (Test-retest reliability) ได้ค่า r=0.84 (p < 0.001) ของฉบับเต็ม และ r=0.81 (p < 0.001) ของฉบับสั้นและย่อ
  • การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis) เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติเชิงโครงสร้างของแบบสอบถามว่า มีความเหมาะสมหรือไม่ ด้วยการทดสอบทางสถิติ (SRMR, RMSEA, CFI, TLI) พบว่า เครื่องมือที่นำมาใช้แบบฉบับเต็ม 30 ข้อภาษาไทย (BIS-11T) และฉบับสั้น 15 (BIS-15T) มีความเหมาะสมเชิงโครงสร้างอยู่ในเกณฑ์ระดับพอใช้ สำหรับนำมาใช้วัดระดับความหุนหันพลันแล่นในคนไทย
  • การกระจายของผลการวัดความหุนหันพลันแล่นฉบับสั้น 15 ข้อ (B.) มีความคล้ายคลึงกับเต็ม 30 ข้อ (A.) แต่ฉบับย่อ 8 ข้อ (C.) มีการกระจายที่แตกต่างออกไปไม่เหมาะสำหรับคนไทย
research weekly 11 1

สรุปได้ว่าแบบทดสอบฉบับสั้น (BIS-15T) (ตามแนบ) อยู่ในเกณฑ์ที่นำมาใช้งานได้อย่างเหมาะสมที่สุด เพราะทำได้รวดเร็วและให้ผลได้ไม่แตกต่างกับฉบับเต็ม (BIS-11T)

ผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียดได้จากบทความ Thai adaptation and reliability of three versions of the Barratt Impulsiveness Scale (BIS 11, BIS-15 and BIS-Brief) ที่ได้ตีพิมพ์ไปแล้วในวารสาร Psychiatric Research 272 (2019) 744 – 755 [doi: https://doi.org/10.1016/j.psychres.2018.12.173 ]

Reference : วรุฒ ชัยวงษ์ ชัยยศ คุณานุสนธิ์

Scroll to Top