โรคเก๊าท์เทียม (pseudogout)

โรคเก๊าต์เทียม เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากการคั่งและสะสมของผลึกเกลือชนิดที่เรียกว่าแคลเซียมไพโรฟอสเฟตไดไฮเดรต (calcium pyrophosphate dihydrateหรือ CPPD) เป็นโรคข้อจากผลึกเกลือที่พบได้บ่อยรองมาจากโรคเก๊าท์

          การคั่งและสะสมของผลึกเกลือซีพีพีดีในข้อ สามารถทำให้ข้อเกิดการอักเสบเฉียบพลันเป็นพักๆ มีลักษณะอาการคล้ายโรคเก๊าท์จึงเรียกว่า โรคเก๊าท์เทียมแต่ผลึกตัวการที่ทำให้ข้อเกิดการอักเสบเป็นคนละชนิดกับโรคเก๊าท์

          โรคเก๊าท์ที่คนทั่วไปรู้จัก เกิดจากร่างกายมีการคั่งและสะสมของผลึกยูเรตหรือกรดยูริกข้อที่พบการอักเสบได้บ่อยคือ ข้อโคนหัวแม่เท้า ข้อโคนนิ้วเท้า ข้อเท้าเอ็นร้อยหวาย ข้อเข่า เป็นต้นส่วนข้อที่พบการอักเสบได้บ่อยในโรคเก๊าท์เทียมคือ ข้อเข่า ข้อมือ ข้อไหล่ข้อศอก ข้อเท้า และข้อนิ้วมือ เป็นต้นการอักเสบที่รุนแรงของโรคเก๊าต์เทียมมักเกิดที่ข้อเข่าทำให้เจ็บปวดจนอาจถึงขั้นเดินไม่ได้หลายวันหรือหลายสัปดาห์เพศชายและเพศหญิงมีโอกาสเป็นโรคเก๊าท์เทียมได้เท่าๆ กันโดยความเสี่ยงของการเกิดโรคเพิ่มขึ้นตามอายุผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟตไดไฮเดรตพบได้ร้อยละ 3 ในคนที่อายุ 60 ปีขึ้นไปยิ่งอายุมากขึ้นก็ยิ่งพบผลึกนี้มากขึ้น และพบได้ถึงประมาณร้อยละ 50 ของคนที่อายุตั้งแต่ 90 ปีขึ้นไปแต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนที่มีผลึกนี้สะสมอยู่ในข้อ จะเกิดอาการข้ออักเสบ

สาเหตุของโรค

  1. เกิดจากการสะสมผลึกเกลือซีพีพีดี เนื่องจากมีไพโรฟอสเฟตอนินทรีย์เพิ่มมากขึ้นในกระดูกอ่อนผิวข้อ โดยสารไพโรฟอสเฟตอนินทรีย์ถูกสร้างเพิ่มขึ้นจากกระดูกอ่อนเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการตกผลึกเกลือซีพีพีดี
  2. โรคเก๊าท์เทียมมีปัจจัยทางพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้ที่มีความผิดปกติทางระบบต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึ่มบางอย่าง เช่นเป็นโรคไทรอยด์ต่ำ โรคฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูง โรคที่มีธาตุเหล็กคั่งในตัวมากและสภาวะโรคต่างๆ ที่ทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดสูงก็เป็นสาเหตุให้เกิดโรคเก๊าท์เทียมได้
  3. การเกิดข้ออักเสบเฉียบพลันอาจเกิดหลังจากการผ่าตัดข้อ การผ่าตัดอย่างอื่น ตลอดจนการบาดเจ็บที่ข้อหรือมีการเจ็บป่วยทางร่างกายอย่างอื่นในผู้สูงอายุสภาวะเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดข้ออักเสบเฉียบพลันในผู้ป่วยที่มีผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟตไดไฮเดรตสะสมไว้ในข้อ

อาการของโรค

ผู้ป่วยโรคเก๊าต์เทียมจะมีอาการแสดงต่างๆ กันออกไป เช่น

· Type A อาการข้ออักเสบเฉียบพลันแบบเป็นๆ หายๆ เลียนแบบโรคเก๊าท์

· Type B อาการของข้ออักเสบเรื้อรัง เลียนแบบโรครูมาตอยด์

· Type C and D อาการปวดข้อเรื้อรังแบบโรคข้อเสื่อมเทียม

· Type E ไม่มีอาการ แต่สามารถตรวจพบผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟตไดไฮเดรต

· Type F มีอาการโรคข้อจากพยาธิประสาทเทียม

          การคั่งและสะสมของผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟตไดไฮเดรต โดยทั่วไปจะเกาะอยู่ที่กระดูกอ่อนในข้อ บางครั้งจะกระจายไปอยู่ที่เยื่อบุข้อผลึกนี้ทำให้ข้อเสื่อมสภาพเร็วขึ้นบางครั้งผลึกนี้จะทำให้เกิดปฏิกิริยาจนเกิดการอักเสบในข้อโดยผลึกจะแตกตัวออกไปและเม็ดโลหิตขาวจะเข้ามากินผลึกนี้โดยนึกว่าเป็นเชื้อโรคทำให้เกิดการอักเสบแบบเฉียบพลันการอักเสบแต่ละครั้งจะทำให้เกิดการทำลายกระดูกอ่อนภายในข้อ

การวินิจฉัยโรค

          แพทย์จะดูจากอาการและการตรวจน้ำไขข้อ โดยใช้เข็มเจาะเอาน้ำไขข้อไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดเศษดูว่ามีผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟตไดไฮเดรตในน้ำไขข้อหรือไม่ส่วนการตรวจเอกซเรย์ข้อจะพบเงาของผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟตไดไฮเดรตที่เกาะอยู่ที่กระดูกอ่อนซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคนี้

          โดยทั่วไปแพทย์ต้องตรวจดูให้แน่ใจว่าไม่ใช่โรคเก๊าต์ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และโรคข้ออักเสบติดเชื้อผลึกของโรคเก๊าต์เทียมจะมีลักษณะป้านกว่าผลึกของโรคเก๊าต์ซึ่งแหลมและยาวกว่า ส่วนสีที่ปรากฏบนกล้องจุลทรรศน์ชนิดพิเศษก็จะไม่เหมือนกัน

          ผลึกเกลือซีพีพีดีเมื่อตรวจด้วยกล้องจุลทรรศรน์ธรรมดา จะเห็นผลึกรูปทรงสี่เหลี้ยมขนมเปียกปูนหรือผลึกเกลือรูปทรงแท่งหัวท้ายตัดขนาดสั้น (rhomboid) อยู่ภายในเซลล์เมื่อตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดโพลาไรซ์ จะพบลักษณะ weakly positive birefringence with positive elongation หรือไม่สะท้อนแสงซึ่งจะแตกต่างจากผลึกเกลือยูเรต

แนวทางการการรักษาโรค

          ปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถละลายผลึกของโรคเก๊าท์เทียมออกจากกระดูกอ่อนในข้อได้ ดังนั้นการรักษาโรคนี้ส่วนใหญ่จึงเน้นไปที่การรักษาอาการอักเสบของข้อการป้องกันการเป็นซ้ำ และการตรวจหาโรคที่อาจพบร่วมกับโรคเก๊าต์เทียมแล้วให้การรักษาควบคู่กันไป

1. การรักษาโรคเก๊าต์เทียมขณะที่มีข้ออักเสบเฉียบพลัน โดยทั่วไปแพทย์จะใช้ยาต้านอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (non-steroidal anti-inflammatory drugs หรือ NSAIDs)

2. แต่ในผู้ป่วยที่สมรรถนะของไตไม่ดี หรือมีประวัติเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารหรือกำลังกินยาที่ทำให้เลือดแข็งตัวช้าลง ก็ไม่ควรใช้ยา NSAIDs แพทย์จะใช้วิธีฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อจะปลอดภัยกว่าในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อยารับประทานก็อาจจำเป็นต้องใช้ยาฉีดเข้าข้อเช่นกัน แต่ไม่ควรกระทำบ่อย

3. สำหรับผู้ป่วยที่มีน้ำไขข้อมาก การดูดเอาน้ำไขข้อออกจะช่วยลดการอักเสบของข้อได้ ผู้ป่วยบางรายมีข้อบวมมากเช่น ข้อเข่า ซึ่งอาจมีไข้และมีอาการซึมต้องเจาะและดูดน้ำไขข้อที่มีผลึกของโรคเก๊าต์เทียมออกไปให้มากที่สุดแล้วฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อ ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว

นพ. วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
ผู้ประพันธ์

Scroll to Top