เวชศาสตร์ฟื้นฟู /กายภาพบำบัด

เมื่อมีการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย หรือการเล่นกีฬาเกิดขึ้น ในระหว่างที่ให้การรักษาอยู่ และภายหลังการรักษาจากแพทย์ผ่านพ้นไปแล้ว ผู้ที่เชี่ยวชาญ ที่จะให้การฟื้นฟูอวัยวะส่วนที่ได้รับบาดเจ็บ ให้กลับคืนสู่สภาพปกติอย่างรวดเร็ว ถ้าเป็นแพทย์เราเรียกว่า แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ถ้าไม่ใช่แพทย์ มีหลายสาขา เช่น นักกายภาพบำบัด และนักอาชีวบำบัด เป็นต้น

การให้การรักษาเพื่อฟื้นฟูอวัยวะส่วนที่บาดเจ็บนี้ อาศัยหลักการดังนี้ คือ

  1. การใช้ความร้อน จะทำให้เกิดการขยายตัวของเส้นเลือด มีการคลายตัวของกล้ามเนื้อ เลือดที่ออกมาติดกับเนื้อเยื่อจะเริ่มสลายตัว ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ช่วยลดการอักเสบ การใช้ความร้อนมี 2 ชนิด คือ

1.1 ความร้อนแบบชื้น ได้แก่ ความร้อนที่ได้จาก ถุงเยลลี่ร้อน ระบบน้ำวน และขี้ผึ้งพาราฟิน เป็นต้น

  1. ความร้อนแบบแห้ง ได้แก่ ความร้อนที่ได้จากการแผ่รังสีความร้อน อันเกิดจากเครื่องมือทางฟิสิกส์ ที่เราได้ยินชื่อกันบ่อยๆ เช่น เครื่องนวดระบบความถี่เหนือเสียง อัลตราซาวด์ เป็นต้น
  • การเคลื่อนไหวข้อต่อที่บาดเจ็บ โดยการเริ่มต้นให้กล้ามเนื้อหดตัว และคลายตัว โดยไม่มีการเคลื่อนไหวของข้อต่อก่อน จนกระทั่งถึงการทำให้มีการเคลื่อนไหวของข้อต่อ จนกว่าข้อต่อนั้นๆ จะงอหรือเหยียดได้เต็มที่เหมือนเดิม ซึ่งสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
    • คนไข้พยายามงอเหยียดด้วยตนเอง
    • การใช้การดัดจากนักกายภาพบำบัด

          การฝึกกล้ามเนื้อให้กลับมาแข็งแรงเท่าเดิม ในระหว่างที่บาดเจ็บ กล้ามเนื้อในส่วนที่ไม่ได้ใช้งานเท่าเดิมจะลีบลง ความแข็งแรงจะลดน้อยลง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องฝึกกล้ามเนื้อให้กลับมาใหญ่เท่าเดิมโดยอาศัยการยกน้ำหนัก

ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)
ผู้ประพันธ์

Scroll to Top