การผ่าตัดและการให้เคมีบำบัดมะเร็งลำไส้ใหญ่

การผ่าตัดยังถือเป็นการรักษาหลักสำหรับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยพิจารณาจากระยะของโรคว่าเป็นมากน้อยขนาดไหน มีการลุกลามไปไปที่ใดหรือไม่ รวมทั้งสภาพร่างกายของผู้ป่วย บางรายแพทย์อาจพิจารณาให้การรักษาด้วยเคมีบำบัดและฉายแสงร่วมด้วยถือเป็นการรักษาร่วมที่สำคัญการผ่าตัดลำไส้ส่วนที่เป็นมะเร็งออกอย่างเพียงพอทำได้สองวิธี ซึ่งมักจะทำในผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80–90 ซึ่งอาจผ่าตัดเปิดหน้าท้องหรือทำการผ่าตัดผ่านกล้องก็ได้ แต่วิธีหลังได้รับความนิยมน้อยกว่า ในการผ่าตัดศัลยแพทย์จะทำการผ่าตัดโดยไม่แตะต้องกับเนื้อลำไส้ส่วนที่เป็นมะเร็ง ทั้งนี้เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ซึ่งเกิดขึ้นได้ง่ายเป็นการกระจายผ่านทางกระแสเลือด หลังจากตัดส่วนลำไส้ที่เป็นมะเร็งออกแล้วจึงนำลำไส้มาต่อกัน จากนั้นเลาะต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียงออกให้หมด ในกรณีที่ไม่สามารถต่อลำไส้ได้ ก็จะเปิดไปที่หน้าท้องประมาณร้อยละ 15 ของผู้ป่วยจะมีลำไส้เปิดที่หน้าท้องการผ่าตัดลำไส้ส่วนที่เป็นมะเร็งและต่อมน้ำเหลืองออกถือเป็นการผ่าตัดใหญ่ ผู้ป่วยได้รับวางยาสลบโดยทั่วไปก่อนผ่าตัดแพทย์ให้ยาปฏิชีวนะและควบคุมอาหารบางประเภท ถือเป็นการเตรียมลำไส้ก่อนผ่าตัดซึ่งเป็นวิธีการที่สำคัญอย่างหนึ่ง การให้ยาปฎิชีวนะที่เหมาะสมช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดที่สำคัญในเรื่องของการติดเชื้อ ระยะเวลาที่ใช้ในการพักฟื้นขึ้นอยู่กับภาพร่างกายของผู้ป่วยเป็นหลัก และขึ้นกับการผ่าตัดว่ามากน้อยขนาดไหน หลังผ่าตัดผู้ป่วยมีอาการปวด อ่อนเพลีย และทานอาหารไม่ค่อยได้ การปรับภาวะโภชนาการในระยะนี้ช่วยให้สภาพร่างกายของผู้ป่วยดีขึ้นได้ จนกระทั่งร่างกายกลับเข้าสู่สภาพที่ปกติ

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

เป็นเรื่องของการแพ้ยาสลบ ลำไส้อุดตัน ก้อนเลือดอุดตัน และการติดเชื้อ บางรายอาจมีปัญหาลำไส้ที่นำมาตัดต่อเอาไว้เกิดรั่ว ในรายที่ได้รับการผ่าตัดโดยใช้กล้อง ผู้ป่วยจะนอนโรงพยาบาลสั้นกว่าในรายที่ผ่าตัดเปิดหน้าท้อง ผลแทรกซ้อนที่อาจพบได้กับท่อไตซึ่งอยู่ใกล้เคียงกัน อาจเกิดแก๊ซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือด และอาจพบไส้เลื่อนที่บริเวณแผลผ่าตัด ในกรณีที่มะเร็งลำไส้ใหญ่ลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง การผ่าตัดอาจต้องขยายไปยังอวัยวะเหล่านั้นด้วย เช่นกระเพาะอาหาร ตับ ไต ลำไส้เล็ก รังไข่ หรือกล้ามเนื้อผนังหน้าท้อง ในรายที่มะเร็งลุกลามไปที่ตับศัลยแพทย์จะพิจารณาตัดตับบางส่วนออกไปด้วยเช่นกัน

การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่โดยยาเคมีบำบัดถือว่าเป็นการรักษาทั่วร่างกาย โดยตัวยาเข้าไปในกระแสเลือดและออกฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็ง หลักสำคัญคือยาทำลายหรือหยุดยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งอาจเป็นยาเคมีบำบัดชนิดรับประทานหรือชนิดฉีดเข้าเส้น ยาเคมีบำบัดมักใช้ในรายที่มะเร็งแพร่กระจายอาจใช้ยาเคมีบำบัดก่อนผ่าตัด เพื่อหวังผลให้ก้อนมะเร็งยุบลงบางส่วน หรือใช้ยาเคมีบำบัดตามหลังการผ่าตัด และอาจใช้ร่วมกับการบำบัดทางอิมมูน หรือรังสีรักษาร่วมด้วยปัจจุบันนิยมใช้ยาเคมีบำบัดชนิดร่วม เช่น FOLFOX ประกอบไปด้วยตัวยาฟลูโอยูเรซิล (5-fluorouracil), ลิวโคโวรินleucovorin, และออกซาลิพลาติน oxaliplatin หรือใช้สูตร FOFIRI ประกอบไปด้วยตัวยาฟลูโอยูเรซิล (5-fluorouracil), และเออริโนทีแคน irinotecan (Camptosar) ซึ่งได้ผลดีในการใช้ก่อนผ่าตัดหรือพิจารณาให้ยาหลังผ่าตัด การใช้ยาเคมีบำบัด ฟลูโอยูเรซิล (5-fluorouracil),ลิวโคโวริน leucovorin, และ เออริโนทีแคน irinotecan ร่วมกันทางหลอดเลือดถือเป็นมาตราฐานในการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิดแพร่กระจายในปัจจุบัน ผลข้างเคียงประกอบด้วยอาการท้องเสีย,เจ็บปากเนื่องจากเยื่อบุปากอักเสบ, เม็ดเลือดขาวต่ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิล,และผมร่วง สำหรับมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ลามไปตับอาจพิจารณาให้การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดชื่อ ฟลอกซูริดีน floxuridine โดยฉีดเข้าหลอดเลือดแดง ผลข้างเคียงได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย และเยื่อบุลำไส้อักเสบนอกจากตัวยาเคมีบำบัดดังกล่าวแล้ว ยังได้มีการนำยาต้านมะเร็งที่มีชื่อว่าเซ็ตทูซิแมบ cetuximab(Erbitux) มาใช้รักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิดลุกลาม ซึ่งออกฤทธิ์ที่ระดับโมเลกุลต้านเซลล์มะเร็งไม่ให้ไปจับกับสารที่ช่วยให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโต เรียกว่า อีปิเดอมัล โกรท แฟคเตอร์ epidermal growthfactor เมื่อตัวยาออกฤทธิ์ยับยั้งต้านสารดังกล่าวจะทำให้เซลล์มะเร็งตายในที่สุด ยาเซ็ตทูซิแมบไม่มีผลข้างเคียงที่ร้ายแรงเหมือนยาเคมีบำบัด อาจเกิดปฎิกิริยาแพ้ได้บ้างเล็กน้อย เช่น ผื่นขึ้นอีกชนิดหนึ่งที่เริ่มนำมาใช้มากขึ้น ชื่อยาบีวาซิซูแมบ Bevacizumab (Avastin) ออกฤทธิ์โดยยับยั้งการสร้างเส้นเลือดโดยเซลล์มะเร็ง ทำให้เซลล์มะเร็งไม่สามารถเจริญเติบโตได้และตายในที่สุดโดยที่ตัวยาเองไม่มีผลต่อเส้นเลือดของเซลล์ร่างกายที่มีอยู่แล้ว ยาบีวาซิซูแมบไม่มีผลข้างเคียงร้ายแรงเข่นกัน อาจมีผลต่อการแข็งตัวของเลือดและมีผลต่อความดันโลหิตบ้างแต่สามารถแก้ไขได้โดยง่าย ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)
ผู้ประพันธ์

Scroll to Top