โรคเหา

เหา เป็นแมลงที่ชอบกัดและดูดเลือดคน อาศัยอยู่บนศีรษะและอยู่ตามขนบริเวณลำตัว มีลักษณะตัวแบนคล้ายตัวเห็บ แต่มีขนาดเล็กกว่า มีสีดำ เหา 1 ตัวจะวางไข่ประมาณ 150 ฟอง มีสีขาวขุ่นอยู่ติดกับโคนผม ไข่เหาจะฟักเป็นตัวภายใน 7 – 10 วัน เด็กเป็นเหาจะมีอาการคันมากและเกาจนหนังศีรษะถลอก อักเสบ และเป็นแผลติดเชื้อได้ ทำให้เสียสมาธิในการเรียน วิธีป้องกันไม่ให้เป็นเหา ควรปฏิบัติตัวดังนี้ คือ สระผมให้สะอาดเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ไม่อยู่ใกล้คลุกคลีหรือใช้ของร่วมกัน ครูหรือผู้ปกครองควรตรวจเหาให้เด็กและสมาชิกในครอบครัวอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง แนะนำให้เพื่อนและคนในครอบครัวกำจัดเหาพร้อมกันด้วยวิธีที่ถูกต้อง จะป้องกันการแพร่ระบาดของโรคเหาได้สำหรับการรักษาโรคเหาให้สระผมวันเว้นวัน ใช้หวีเสนียดสางเหาใส่กระดาษและเผาทำลาย ทำเช่นนี้ทุกวันประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ จะช่วยให้เหาหมดไปได้โดยไม่ต้องใช้ยากำจัดหรือใช้สมุนไพร เช่นยาฉุน ใบหรือเมล็ดน้อยหน่า ตำแล้วคั้นกับน้ำหรือน้ำมันชโลมผมให้ทั่วศีรษะทิ้งไว้ 3 – 4 ชั่วโมง จึงสระผม หากใช้ยารักษาหิดเหาขององค์การเภสัชกรรมซึ่งมีลักษณะเป็นยาน้ำแขวนตะกอนสีขาวขุ่น ก็ควรใช้อย่างระมัดระวังและปฏิบัติตามคำแนะนำในฉลาก ดังนั้นถ้าเด็ก ๆ ไม่อยากเป็นโรคเหาซึ่งน่ารังเกียจต้องรักษาความสะอาดของร่างกาย และสระผมเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ตามคำขวัญว่า “หมั่นสระ หมั่นสาง จะห่างจากเหา”

เหาเป็นแมลงขนาดเล็ก 1-2 มม. สีดำ ไม่มีปีก ส่วนหัวยื่นออกไปข้างหน้า มีหนวดสั้นๆ 1 คู่ ส่วนอกไม่เห็นรอยแยกของปล้อง มีขา 3 คู่ ชอบกัดและดูดเลือดคน อาศัยอยู่บนศีรษะและอยู่ตามขนบริเวณลำตัว ลักษณะตัวแบนคล้ายตัวเห็บ แต่มีขนาดเล็กกว่า เหาหนึ่งตัวจะวางไข่ประมาณ 150 ฟอง มีสีขาวขุ่นอยู่ติดกับโคนผม ไข่เหาจะฟักเป็นตัวภายใน 7-10 วัน เนื่องจากเหามีลำตัวเรียวยาว และมีความคล่องตัวในการเคลื่อนไหว จึงติดต่อกันได้ง่ายมาก โรคเหาที่หนังศีรษะพบได้บ่อยในเด็กวัยเรียน โดยเฉพาะเด็กผู้หญิง เหาจะคอยดูดเลือดกินเป็นอาหาร ในน้ำลายของเหามีสารที่ระคายผิวหนังได้ ทำให้เกิดตุ่มคันตรงรอยกัด

เหาเกิดจากเชื้อปาราสิต ชื่อวิทยาศาสตร์เรียกว่า Pediculus humanus ซึ่งอาศัยอยู่บนหนังศีรษะ เส้นผม ขน ปาราสิตชนิดนี้จะคอยดูดเลือดกินเป็นอาหาร และวางไข่บนเส้นผม โดยหลั่งสารไคตินหุ้มปลายหนึ่งของไข่ ให้เกาะติดแน่นอยู่ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า บางคนไม่มีอาการมากเท่าใด แต่อาจสร้างความรำคาญได้โรคเหาที่หนังศีรษะพบได้บ่อยในเด็กวัยเรียน โดยเฉพาะเด็กผู้หญิง เหาจะคอยดูดเลือดกินเป็นอาหาร ในน้ำลายของเหามีสารที่ระคายผิวหนังได้ ทำให้เกิดตุ่มคันตรงรอยกัด โดยที่เหาเกิดจากเชื้อปาราสิต ชื่อวิทยาศาสตร์เรียกว่า Pediculus humanusซึ่งอาศัยอยู่บนหนังศีรษะ เส้นผม ขน ปาราสิตชนิดนี้จะคอยดูดเลือดกินเป็นอาหาร และวางไข่บนเส้นผม โดยหลั่งสารไคตินหุ้มปลายหนึ่งของไข่ ให้เกาะติดแน่นอยู่ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า บางคนไม่มีอาการมากเท่าใด แต่อาจสร้างความรำคาญได้พบว่าเด็กผู้หญิงที่มีเหาที่หนังศีรษะ สามารถแพร่การติดเชื้อให้แก่เพื่อนๆ ภายในชั้นเรียนเดียวกันภายใน 24 ชม. ไข่มีขนาดเล็ก ประมาณ 0.5-1 มม. ฟักเป็นตัวอ่อนของเหาภายในหนึ่งสัปดาห์ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มักจะทำให้เกิดอาการคันที่บริเวณด้านหลังและด้านตรงศีรษะ ถ้าเกามากเป็นหนอง สะเก็ดแห้งกรังได้ บางครั้งเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนทำให้ต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณท้ายทอยและข้างคอโตได้ ในทางตรงกันข้าม บางคนอาจจะไม่มีอาการใดมาก ไม่คันมาก

แม้ว่าเหาจะพบบ่อยในเด็กวัยเรียนมากที่สุด แต่จริงๆ แล้วพบได้ทุกเพศทุกวัยตัวเหาบนศีรษะสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรืออาจใช้แว่นขยายช่วยส่องดู ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีตัวเหาบนศีรษะน้อยกว่า 10 ตัว น้ำลายของตัวเหาจะมีสารซึ่งระคายเคืองผิวหนังได้ ทำให้เกิดตุ่มคันตรงรอยกัด ลักษณะไข่เป็นรูปวงรี ยาว 0.5-1 มิลลิเมตร สีขาวขุ่น เกาะติดแน่นกับเส้นผม จำนวนแตกต่างหันเป็นร้อยเป็นพันได้ ตัวเหาจะวางไข่ที่บริเวณโคนรากผม เมื่อผมยาวขึ้นก็จะเห็นไข่เหาเขยิบห่างจากหนังศีรษะมากขึ้น เช่น ปกติผมจะยาววันละประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ถ้าพบไข่อยู่บนเส้นผมห่างจากหนังศีรษะหรือโคนรากผม ประมาณ 15 เซนติเมตร แสดงว่าเป็นเหามาประมาณ 9 เดือนแล้วไข่ที่ยังมีตัวอยู่จะมีสีเหลืองขุ่น แต่ไข่ที่ว่างเปล่าไม่มีตัวจะมีสีขาวขุ่น

การติดต่อ

ติดต่อทางการสัมผัสโดยตรง เช่น การใช้หวีแปรงร่วมกัน การใช้หมวกร่วมกัน การใช้หมอนแฃที่นอนร่วมกัน จากศีรษะคนหนึ่งไปที่ศีรษะอีกคนหนึ่ง เพราะฉะนั้นจึงมักพบระบาดในโรงเรียนได้บ่อย เพราะเด็กนักเรียนจะวิ่งเล่นใกล้ชิดกันมาก เหามักจะติดต่อสู่คนโดยการสัมผัสอย่างใกล้ชิด เช่น เด็กเล่นกันแบบศีรษะแตะศีรษะ ในชุมชนแออัด เช่น ค่าผู้อพยพ บริเวณที่ชุมชนหนาแน่นในผับหรือคลับ

อาการ

เด็กที่เป็นเหาจะมีอาการคันมาก อาจเกาจนหนังศีรษะถลอก อักเสบ และเป็นแผลติดเชื้อได้ นอกจากนี้ยังทำให้เด็กเสียสมาธิในการเรียน บางรายจะมีอาการคันศีรษะมาก และพบตัวเหาและไข่เหาซึ่งเห็นเป็นจุดขาว ๆ ติดอยู่บนบริเวณโคนผมและเส้นผม ส่วนใหญ่จะพบที่บริเวณเหนือใบหูและที่ท้ายทอย บางรายอาจมีอาการคันมากตอนกลางคืน จนนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ เหาทำให้เกิดแผลที่หนังศีรษะเนื่องจากการเกาเพื่อลดอาการคัน ซึ่งทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียได้

การวินิจฉัย

  1. โดยการตรวจพบตัวและไข่เหา
  2. ลักษณะไข่ (nits) ไข่รูปวงรี ยาว 1 มิลลิเมตร สีขาวขุ่น เกาะติดแน่นกับเส้นผม จำนวนแตกต่างหันเป็นร้อยเป็นพันได้ ตัวเหาจะวางไข่ที่บริเวณโคนรากผม เมื่อผมยาวขึ้นก็จะเห็นไข่เหาเขยิบห่างจากหนังศีรษะมากขึ้น เช่น ปกติผมจะยาววันละ ประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ถ้าพบไข่อยู่บนเส้นผมห่างจากหนังศีรษะหรือโคนรากผม ประมาณ 15 เซนติเมตร แสดงว่าเป็นเหามาประมาณ 9 เดือนแล้ว ไข่ที่ยังมีตัวอยู่จะมีสีเหลืองขุ่น แต่ไข่ที่ว่างเปล่าไม่มีตัวจะมีสีขาวขุ่น
  3. สำหรับการวินิจฉัยแยกโรค ต้องแยกจากรังแคซึ่งจะเป็นสะเก็ด ขุยลอกเล็กๆ บนศีรษะ ตัวขุยเล็กๆ นี้ จะไปติดแน่นกับเส้นผม เหมือนไข่เหา บางครั้งอาจแยกโรคที่เกิดจากการใช้เจลใส่ผม ซึ่งเจลใส่ผมบางครั้งเมื่อทำปฏิกิริยากับเส้นผม แล้วจะแห้งกรัง เกาะติดเป็นแผ่นเล็กๆ บนเส้นผมได้ อีกประการหนึ่งคือ แยกจากโรคหนังศีรษะอักเสบ ซึ่งจะมีอาการคัน สะเก็ดลอก หนา เป็นแผ่นๆ บางครั้งมีแผลน้ำเหลืองแห้งกรัง

การวินิจฉัยแยกโรค

  1. รังแค (dandruff) จะเป็นสะเก็ด ขุยลอกเล็ก ๆ บนศีรษะ ตัวขุยเล็ก ๆ นี้ จะไปติด แน่นกับเส้นผม เหมือนไข่เหา
  2. การใช้เจลใส่ผม เจลใส่ผมบางครั้งเมื่อทำปฏิกิริยากับเส้นผม แล้วจะแห้งกรัง เกาะติดเป็นแผ่นเล็ก ๆ บนเส้นผมได้
  3. ผู้ป่วยโรคหนังศีรษะอักเสบ (seborrheic capitis) จะมีอาการคัน สะเก็ดลอก หนา เป็นแผ่น ๆ บางครั้งมีแผล น้ำ เหลืองแห้งกรัง

การรักษา

  • ใช้หวีฟันถี่ ทำการหวีเพื่อเอาตัวและไข่เหาออกมา ก่อนที่จะใช้ 25 % benzyl benzoate ชะโลมบนศีรษะในรูปของ lotion ทิ้งไว้ 1 วัน เบนซิลเบนโซเอตชนิด 25 % ชโลมทั่วศีรษะ โพกผ้าทิ้งไว้ประมาณ 12-20 ชั่วโมง วิธีที่สะดวก คือ ใส่ยาตอนเย็น แล้วทิ้งไว้ค้างคืนหลังจากนั้นสระผมให้สะอาด พร้อมทั้งใช้หวีเสนียดสางเอาไข่เหาออกมา อีกหนึ่งสัปดาห์ต่อมา ควรทำซ้ำอีกครั้ง เพราะเป็นระยะที่ไข่เหาที่หลงเหลืออยู่จะฟักตัวอีกครั้งหนึ่ง
  • อาจเลือกใช้ 1% gamma benzoate hexachloride ชะโลมศีรษะทิ้งไว้ 12 ชั่วโมง และทำซ้ำอีกครั้งหลังจากครั้งแรก 7-10 วัน รวมทั้งนำเครื่องใช้ของผู้ติดเหาไปล้างทำความสะอาด ส่วนเครื่องนุ่งห่มให้นำไปตากแดดหรือเข้าเครื่องอบผ้า
  • โกนผมทิ้ง เป็นวิธีที่ง่ายและมีประสิทธิภาพมากที่สุด การโกนผมจะช่วยได้มากและสะดวกดี ไม่สิ้นเปลือง แต่เด็กจะอายเพื่อนฝูง
  • การใช้หวีเสนียด ซึ่งเป็นหวีซึ่งมีซี่ของหวีถี่มากใช้สางผมทำให้ทั้งตัวเหาและไข่เหา หลุดติดกับหวีออกมาได้ สระผมวันเว้นวัน ใช้หวีเสนียดสางเหาใส่กระดาษและเผาทำลาย ทำเช่นนี้ทุกวันประมาณ 2-3 สัปดาห์ จะช่วยให้เหาหมดไปได้โดยไม่ต้องใช้ยากำจัด การใช้หวีเสนียดซึ่งเป็นหวีซึ่งมีซี่ของหวีถี่มากใช้สางผมทำให้ทั้งตัวเหาและไข่เหาหลุดติดกับหวีออกมาได้
  • ใช้ยาฆ่าเหา ชื่อทางการค้าว่า จาคูติน (Jacutin) ใช้ทาศีรษะ ทิ้งไว้ 12 ชั่วโมง ล้างออกใช้ทาติดต่อกัน 3 วัน ยาที่ใช้ฆ่าเหาและไข่เหาได้ผลดี คือ แกมมาเบนซินเฮกซาคลอไรด์ ชื่อทางการค้าว่า “จาคูติน” ใช้ทาทั่วศีรษะ หลังสระผมให้สะอาดแล้ว แล้วทิ้งไว้ 12 ชั่วโมง และสระผมซ้ำล้างออก โดยจะฆ่าตัวเหาได้หมด แต่ไข่เหายังไม่หมด ควรทายาซ้ำอีก 1 สับดาห์ แล้วใช้หวีซี่ถี่ๆ สางผมให้ไข่เหาหลุดออก หรือใช้ทาศีรษะ ทิ้งไว้ 12 ชั่วโมงจึงล้างออก ใช้ทาติดต่อกัน 3 วัน
  • ใช้ยารักษาหิดเหาขององค์การเภสัชกรรมซึ่งมีลักษณะเป็นยาน้ำแขวนตะกอนสีขาวขุ่น ควรใช้อย่างระมัดระวัง และปฏิบัติตามคำแนะนำในฉลาก
  • ใช้สมุนไพร เช่น ยาฉุน ใบหรือเมล็ดน้อยหน่า ตำแล้วคั้นกับน้ำหรือน้ำมัน ชโลมผมให้ทั่วศีรษะ ทิ้งไว้ 3-4 ชั่วโมง จึงสระผม เหามักจะเกิดในเด็กนักเรียน ในการกำจัดเหาจำเป็นต้องทำซ้ำ เพราะขณะกำจัดเหา สมุนไพรที่ใช้สามารถฆ่าเหาได้ แต่ไข่อาจจะถูกกำจัดไม่หมด จึงควรใช้ซ้ำ และแนะนำให้รักษาความสะอาดโดยการสระผมบ่อยๆ
  • ใช้ยาปฏิชีวนะ ถ้าเกิดมีเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนเกิดขึ้น
  • ยากินกลุ่มแอนติฮีสตามีน ใช้กินเพื่อระงับอาการคัน

การป้องกัน

– หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชนแออัด

– ทำความสะอาดเส้นผมเป็นประจำ

– อย่าใช้ของร่วมกัน เช่น หวี แปรง หมวก ที่นอน หมอน เป็นต้น

– ปลอกหมอน ควรซัก ตากแดด หรือใช้ต้มน้ำร้อน

– ควรรักษาทั่วทั้งบ้าน ทั้งโรงเรียนที่มีการระบาดเกิดขึ้น

ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)
ผู้ประพันธ์

Scroll to Top