เด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้ (Learning disorder)

คำว่า LD. ย่อมาจาก Learning disorder (ศัพท์ ทางการแพทย์) หรือ Learning disability (ศัพท์ทางการศึกษา) อาจแปลภาษาไทยได้เป็นเด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้ LD. เป็นภาวะที่เด็กมีความบกพร่องในการอ่าน เขียน โดยจะ สังเกตได้ว่าเด็กมี

ความยากลำบากในการอ่าน อ่านช้า ไม่ค่อยชอบอ่านหนังสือ คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตว่าลูกไมค่อยยอมอ่านป้ายเวลานั่งรถไป ตาม ถนน (ผิด กับเด็กทั่วไปที่มัก สนใจว่าป้าย โฆษณา ร้านค้า ป้ายถนน ทางด่วน เขียนว่าอะไร พยายามอ่าน และสอบถามพ่อแม่) เขียนสะกดคำ ง่ายๆ ผิดบ่อยๆ บางทีอาจสับสน ตัวเลขหรือตัวอักษรที่คล้ายกัน เขียนเป็นลักษณะกระจกเงา สะท้อน เช่น b – d , 6-9 จดหรือลอกงานการบ้านจากกระดานช้า กว่าเพื่อนๆ บางคนมี ประวัติพูดช้า ในวัยเด็ก (พูดคำแรกที่สื่อความหมายได้หลังอายุ 2 ปี) L.D. อาจพบได้ถึงร้อยละ6 ของเด็กวัยเรียน

สาเหตุ

เกิดจากส่วนหนึ่งของสมองซึ่งทำหน้าที่ในการถอดรหัสภาษาบกพร่อง โดยตามปกติคน ปกติที่อ่านหนังสือได้ จะสามารถเปลื่ยนลายเส้นของตัวอักษร ไปสู่ เสียงได้ แยกแยะตัวอักษรที่มี ลักษณะคล้ายกันไม่ออก สับสนหัวเข้าหัวออก เช่น ถ-ภ สับสนเลข 6-9

ขั้นตอนปกติของการอ่าน

การอ่านประกอบด้วย 2 ขั้นตอนหลักคือ การถอดรหัส (Decoding) เป็น การแปร และเชื่อมโยงลายเส้นของตัวอักษร ไป สู่ เสียง (Phonological processing) เช่น CAT –> Kuh-Aau-Tuh –> CAT (แมว) หรือ วาง –> วอ-อา-งอ –> วาง การจดจำคำได้ และเข้าใจความหมายของคำ (Word recognition & reading comprehension) เกิดต่อเนื่องจากการถอดรหัสภาษาไป สู่เสียงเมื่อเกิดเสียงในสมองก็จะจำได้ว่าเสียงนี้เคยได้ยินมาก่อน หมายถึงอะไรเด็ก LD. มักมีความบกพร่องของสมองส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการถอดรหัสภาษาไปสู่เสียง (Phonological processing ) ทำให้ยากลำบากมากในการอ่าน เขียน โดยเด็ก LD. อาจจำเป็นต้องชดเชยความบกพร่องนี้โดยวิธีการจำลายเส้น ตัวอักษรทั้งหมด (จำทั้งกลุ่มก้อนของข้อความ) คล้ายการ อ่านเขียนภาษา จีน หรือญี่ปุ่น ซึ่งเป็นระบบภาษาอีกแบบ หนึ่ง คือเป็นภาษารูปภาพ ไม่ต้องมีการถอดรหัสตัวอักษรไปสู่ เสียงเหมือนระบบภาษาไทย ภาษาอังกฤษ โดยทั่วไปเด็กชั้นประถมปีที่ 1-2 จะ เรียนรู้วิธีการอ่าน (learn to read) ส่วนเด็กชั้นประถมปีที่ 3-4 จะใช้การอ่านเพื่อเรียนรู้ (read to learn) ดังนั้น เด็ก LD. จะเริ่มเห็นปัญหาการเรียนชัดเจนเมื่อขึ้นชั้นประถมปีที่ 3-4

ลักษณะของความยากลำบากในการอ่าน

  • พฤติกรรมการอ่านอาจมีลักษณะอึดอัด ถอนหายใจ ดูเครียด คิ้วขมวด ยุกยิก
    อาการไม่แน่ใจ ไม่มั่นคงทางอารมณ์ ร้องไห้
  • หลงตัวอักษร เช่นอ่านซ้ำที่เดิม หลายครั้ง อ่านข้ามข้อความ ข้ามบรรทัด
  • ส่ายหน้า สั่นศีรษะ
  • จับหนังสืออ่านจนชิดหน้า
  • อ่านคำไม่ถูกต้อง
  • อ่านข้าม เช่น เสียงดังฟังชัด อ่านว่าเสียงดังชัด
  • อ่านเพิ่ม เช่น ผีเสื้อมาถึง อ่านว่าผีเสื้อบินมาถึง
  • อ่านคำ อื่นมา แทน เช่นต้นตะแบก อ่านว่า ต้น ปะแดก
  • ออกเสียงผิด ปลูกบ้าน อ่านว่า ปูกบ้าน
  • อ่านสลับคำ
  • อ่านไม่ออก หยุดอ่านเมื่ออ่านมาถึง คำที่อ่านไม่ได้
  • อ่านช้ามาก พยายามอ่านทีละคำ นาทีหนึ่งอ่านได้เพียง20-30 คำ เท่านั้น (ในขณะที่เด็กปกติอ่านได้นาทีละ100 คำ ขึ้นไป)
  • ไม่เข้าใจสิ่งที่อ่าน
  • จำรายละเอียดไม่ได้
  • จัดลำดับ ขั้นตอนไม่ได้
  • ไม่เข้าใจใจความสำคัญ
  • ปัญหาอื่นๆอ่านทีละคำ,อ่านเว้นวรรคผิด,อ่านเสียงเบามาก

ปัญหาในการเขียนของเด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้

  • เขียนช้า ใช้เวลาเขียนแต่ละคำนานมาก
  • ลายมืออ่านยาก หรืออ่านไม่ออกเลย
  • เขียนตัวอักษรกลับหลัง
  • เขียนตัวอักษรเอียงเกินไป
  • เว้นช่องว่างตัวอักษร ไม่เท่ากัน หรือไม่สม่ำเสมอ
  • เขียนออกนอกบรรทัด
  • ความเข้มของเส้นตัวอักษรไม่เท่ากัน
  • สลับตัวอักษร
  • สะกดคำแล้วอ่านไม่ออก(สะกดผิดจน ไม่มีใคร อ่านได้)
  • เขียนจำนวนคำในประโยคน้อยเมื่อครูให้เขียนเรียงความ เขียนได้เพียง 2-3 ประโยค สั้นๆ

การช่วยเหลือเด็ก LD. เริ่มจากความเข้าใจ และยอมรับถึงปัญหาการเรียนของลูกก่อนและพยายามช่วยเหลือผ่านระบบการศึกษาพิเศษ

การศึกษาพิเศษ (Special Education)

ครูการศึกษาพิเศษเป็นครูที่จบปริญญาโทมาด้านการศึกษาพิเศษโดยเฉพาะ จะมีบทบาทมากในการช่วยปูพื้นฐาน และแก้ไขปัญหาการอ่าน เขียนให้ ใน ระบบการศึกษาของประเทศที่พัฒนาแล้ว จะมีคุณครูการศึกษาพิเศษประจำอยู่ทุก โรงเรียน แต่ในประเทศไทยโรงเรียนส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมในการให้การศึกษาพิเศษ สำหรับเด็ก L.D.คุณพ่อคุณแม่จึงควรสอบถามทางโรงเรียนที่ลูกศึกษาอยู่ ว่าคุณครูที่จบ การศึกษาพิเศษ หรือเคยได้รับการอบรมการศึกษาพิเศษหรือไม่ ถ้ามีควรนำ จดหมายจากแพทย์ที่มีข้อมูลปัญหาของเด็ก ผลการทดสอบ I.Q. และการทดสอบความสามารถในการอ่านเขียน เพื่อให้ครูการศึกษาพิเศษ ได้ช่วยเหลือเด็กต่อไป ถ้าไม่มีคุณครูการศึกษาพิเศษที่โรงเรียน หรือทางโรงเรียนไม่ร่วมมือเท่าที่ควร ควรค้นหาการสอนจากครูการศึกษาพิเศษ ภายนอกโรงเรียน เช่นที่ ภาควิชาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัย หรือตามโรงพยาบาลที่มี ครูการศึกษาพิเศษมาสอน เด็กที่เป็น L.D. มักจะมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเรียน บางคนอาจไม่ยอมเขียนอ่าน มี อารมณ์ ผิดหวัง ซึมเศร้า ท้อแท้ บางคนอาจโกรธ หงุดหงิด ก้าวร้าว คุณพ่อคุณแม่จึงควรใจเย็น ไม่ดุว่า ลงโทษเรื่องการเรียน พยายามใช้วิธีการให้รางวัล ให้คำชม และถ้าคุณพ่อคุณแม่เข้าใจลูก และพอรู้วิธีการสอนอ่านเขียน จะสามารถช่วยเหลือลูกด้านปัญหาด้านการเรียนได้มาก

ที่มา : นพ.กมล แสงทองศรีกมล
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)
ผู้ประพันธ์

Scroll to Top