อาการปวดแขนจากกล้ามเนื้อคอ หนีบเส้นประสาทอาการปวดแขนที่ร้าวจากบริเวณคอไปไหล่ และไปปลายแขนนั้น โรคที่พบบ่อย คือ การกดทับเส้นประสาทที่บริเวณคออย่างไรก็ตามอาการปวดแขนที่ร้าวมาตามเส้นประสาทที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันยังสามารถเกิดจากกล้ามเนื้อคอหนีบทับเส้นประสาทได้กล้ามเนื้อที่พบบ่อยว่ามีการหนีบเส้นประสาทและทำให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรงร้าวลงไปถึงปลายแขนได้ คือ กล้ามเนื้อ (Scalene) ดังนั้นจึงมีโรคอีกโรคหนึ่งที่เราควรนึกถึงว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดร้าวไปตามแขนได้คือโรคกล้ามเนื้อ Scalene บีบเส้นประสาทหรือ (Anterior Scalene Syndrome) อาการปวดอาจจะมีอาการรุนแรง จนกระทั่งผู้ป่วยจำเป็นต้องประคองแขนเอาไว้นิ่งๆ ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการวิตกกังวลเป็นอย่างยิ่งบางรายปวดมากจนร้องไห้สาเหตุที่กล้ามเนื้อ Scalene บีบทับเส้นประสาทนั้นเชื่อว่าเกิดจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อโดยเฉพาะจากการอยู่ใน Position หรื่อท่าทางที่ผิดปกติระยะเวลานานๆ การขาดการออกกำลังกาย ความเครียดผู้ป่วยบางรายมีประวัติ ว่านอนสัปหงก หรือฟุบไปกับโต๊ะหลายรายมีประวัติการใช้คอมพิวเตอร์ระยะเวลานานๆ บางรายนั่งหลับบนรถทัวร์เป็นต้น ทำให้เกิดอาการปวดร้าวตามแขน ในเวลาต่อมาปัญหาของการปวดร้าวตามแขนที่เกิดจากกล้ามเนื้อคอหนีบเส้นประสาท ที่เกิดจากการวินิจฉัยเนื่องจากมีอาการคล้ายกับการกดทับเส้นประสาทบริเวณกระดูกคอเป็นอย่างมากบางครั้งผู้ป่วยมีพยาธิสภาพ เช่น โรคหมอนรองกระดูกที่คออยู่แล้วจึงมักถูกวินิจฉัยเป็นเรื่องของกระดูกคอทับเส้นประสาท เป็นต้น
แพทย์ที่ทำหน้าที่ในการรักษาโรคกล้ามเนื้อคอหนีบเส้นประสาท คือแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ซึ่งมีวิธีการรักษาที่ปลอดภัยและไม่ใช่การผ่าตัดอาทิเช่น การทำให้กล้ามเนื้อคอผ่อนคลาย โดยการใช้กายภาพบำบัดหรือการฉีดยาเข้าที่กล้ามเนื้อที่เป็นปัญหา เช่น การทำ (Trigger point injection) หรือการฉีดยาที่กล้ามเนื้อ Scalene การปวดแขนจากกล้ามเนื้อคอหนีบเส้นประสาทนี้มักจะหายได้หากได้รับการรักษาที่ถูกต้องและได้รับคำแนะนำในการใช้งานศีรษะและลำคอที่ถูกต้องเพื่อที่จะไม่ได้กลับมาเป็นอีกสิ่งที่สำคัญสำหรับการวินิจฉัยอาการปวดแขนจากกล้ามเนื้อนี้ คือต้องวินิจฉัยให้ได้ก่อนการผ่าตัดหากผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดกระดูกคอมาแล้ว และไม่หายปวดผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการจากโรคกล้ามเนื้อคอหนีบเส้นประสาทนี้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ ผู้ป่วยที่มีอาการปวดร้าวไปตามแขนก่อนที่ได้รับการผ่าตัด ควรจะได้รับการวินิจฉัยแยกโรคของกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ และคอที่อาจจะหนีบทับเส้นประสาทนี้ออกไปเพื่อไม่ให้เกิดภาวะที่เรียกว่าการผ่าตัดแล้วไม่หายปวดเกิดขึ้นการรักษาแบบองค์รวมของศัลยแพทย์ และแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูร่วมกันจะทำให้ลดอุบัติการผ่าตัดโดยไม่จำเป็นและสามารถรักษาอาการปวดแขนของเส้นประสาทนี้ได้โดยไม่ต้องผ่าตัดมากขึ้น
นาวาอากาศเอก นพ. ทายาท บูรณกาล
ผู้อำนวยการศูนย์กระดูกสันหลังครบวงจร รพ.กรุงเทพ
ผู้ประพันธ์