การสวนปัสสาวะทิ้งด้วยตนเองในผู้หญิง

เริ่มแรกเรามาทำความรู้จักอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายปัสสาวะกันก่อน ระบบทางเดินปัสสาวะมีส่วนประกอบที่สำคัญ 5 ส่วนด้วยกันคือ

1.ไตสองข้าง
2.หลอดไตสองอัน
3.กระเพาะปัสสาวะ
4.กล้ามเนื้อหูรูด
5.ท่อปัสสาวะ

ไตของเราจะกรองเลือดที่ไหลเวียนภายในตัวเราและขับของเสียหรือสารส่วนที่เกินความต้องการออกมาเป็นน้ำปัสสาวะ ไหล ผ่านหลอดไตลงไปเก็บไว้ในกระเพาะปัสสาวะ ไหลผ่านหลอดไตลงไปเก็บไว้ในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเปรียบเสมือนกับถุงกล้ามเนื้อคล้ายลูกโป่งจุได้ประมาณ 300-400 ซีซี ปัสสาวะถูกเก็บไว้ในกระเพาะปัสสาวะโดยมีกล้ามเนื้อหูรูดเป็นวงๆรัดอยู่ที่ ท่อปัสสาวะ เมื่อมีปัสสาวะเต็มกระเพาะปัสสาวะ ตัวกระเพาะปัสสาวะจะส่งความรู้สึกไปที่สมอง สมองก็จะส่งให้กล้ามเนื้อหูรูดคลายตัวออก เราก็จะถ่ายปัสสาวะออกมาเองซึ่งปกติจะใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง โดยทั่วไปคนเราจะเริ่มมีความรู้สึกปวดเมื่อมีปัสสาวะประมาณ 150-200 ซีซี หากเรายังไม่พร้อมหรือยังไม่ต้องการที่จะถ่ายปัสสาวะก็อาจจะเก็บไว้ได้อีก ระยะหนึ่งจนถึงประมาณ 300-400 ซีซี ซึ่งจะรู้สึกปวดมากขึ้นจำเป็นที่จะต้องปัสสาวะทิ้งไปเพราะใกล้จะล้นแล้ว มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ กล้ามเนื้อหูรูดหรือการสั่งงานของสมองทำงานไม่ดี จะทำให้กระเพาะปัสสาวะยืดออกมากจนเกินไป จะเกิดการอักเสบขึ้นไปถึงไต เกิดแผลที่ไตในที่สุดจะทำลายไตข้างนั้นด้วย การสวนปัสสาวะทิ้งเป็นครั้งคราวจะช่วยให้กระเพาะปัสสาวะไม่ยืดจนเกินไป

ทำไมจึงต้องสวนปัสสาวะทิ้งเป็นครั้งคราว ?

  • ป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะยืดมากเกินไป ซึ่งจะสูญเสียแรงบีบตัว
  • ลดจำนวนปัสสาวะที่เหลือค้าง หลังจากถ่ายปัสสาวะแล้ว แต่ออกไม่ได้หมด
  • ปัสสาวะไม่ล้นซึม
  • คุณมีสุขภาพกายและใจดีขึ้น เมื่อไม่ต้องมีสายสวนคาอยู่ตลอดเวลา

แล้วต้องเตรียมอะไรบ้าง ?

1.สายยางหรือแท่งแก้ว สำหรับสวนปัสสาวะ
2.สบู่ล้างมือ ผ้าเช็ดมือหรือกระดาษทิชชู
3.กล่องพร้อมน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น Savlon สำหรับแช่สายยางหรือแท่งแก้ว
4.สำลีก้อนสำหรับชุบน้ำยาทำความสะอาดท่อปัสสาวะก่อนสวน
5.กระจกขนาดแผ่นโตพอสมควร สำหรับส่องดูท่อปัสสาวะ
6.ภาชนะตวงใส่ปัสสาวะ
7.สารหล่อลื่นสายสวน
8.ชาม/ถ้วย ใบใหญ่ สำหรับใส่ปัสสาวะ 1 ใบ
9.ถ้วยใบเล็ก 4 ใบ

  • ใส่สำลีสะอาดประมาณ 6-8 ก้อน
  • ใส่น้ำยาเบาตาดีน (Betadine) ไว้เช็ดทำความสะอาด
  • ใส่เจลหล่อลื่น (k-y jelly หรือ xylocain jelly)
  • ใส่น้ำต้มสุกสะอาด และหลอดฉีดยาที่สะอาด

10.ถังขยะ

11.โคมไฟ/ไฟฉาย
12.กระจก ที่สามารถปรับมุมได้
13.สาย สวนปัสสาวะที่แช่น้ำยาฆ่าเชื้อแล้ว 30 นาที (Btadine 1 ส่วนต่อน้ำสะอาด 1 ส่วน น้ำยาที่ผสมแล้วสามารถใช้ได้ภายใน 24 ชั่วโมง หรือ 1 วัน)
14.เก้าอี้นั่งสำหรับสวน
15.ถ้วยตวงที่มีตัวเลข ที่สามารถดูปริมาณปัสสาวะ เพื่อบันทึกปริมาณปัสสาวะให้แพทย์ได้

วิธีสวนปัสสาวะทำอย่างไรบ้าง

1.ล้างมือให้สะอาด และเช็ดมือให้แห้ง
2.ทำความสะอาดที่อวัยวะเพศ เหมือนการอาบน้ำปกติ ด้วยสบู่
3.นั่งบนเก้าอี้ นำกระจกที่สามารถปรับได้มารองใต้อวัยวะ หันหน้าไปทางแสงไฟ หรือตั้งโคมไฟ/ไฟฉายเปิดไว้
4.เช็ดทำความสะอาดที่อวัยวะเพศ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้ออีกครั้ง โดยใช้มือจับสำลีที่เตรียมไว้ในถ้วยจุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อที่เตรียมไว้ (Betadine) เช็ดบริเวณด้านนอก อวัยวะเพศ โดยเช็ดจากด้านบนลงด้านล่างฝั่งด้านหนึ่งครั้งเดียวแล้วทิ้งแล้วเช็ดอีกด้าน ด้วยวิธีเดียวกันแล้วทิ้ง เช็ดบริเวณตรงกลางอวัยวะจากบนลงล่างที่เดียวแล้วทิ้ง ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดแหวกอวัยวะเพศออก เพื่อให้เห็นท่อปัสสาวะ และเช็ดด้วยสำลีสะอาดจุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อ (Betadine) บริเวณอวัยวะเพศด้านในอีกครั้ง ด้วยวิธีเดียวกัน โดยเช็ดจากบนลงล่างข้างหนึ่งที่เดียวแล้วทิ้ง บริเวณด้านในอวัยวะอีกด้าน และตรงกลางบริเวณท่อปัสสาวะ
5.นำสายสวนปัสสาวะออกจากที่แช่น้ำยาฆ่าเชื้อ ล้างด้วยน้ำสะอาด โดยอาจใช้หลอดฉีดยาที่สะอาดที่บรรจุน้ำสะอาดล้างสายอีกครั้ง โดยระมัดระวังการกระเด็นของน้ำสะอาดที่ล้างแล้วกระเด็นมาโดนสายสวนที่สะอาด ได้ และระมัดระวังสายสวนอาจสัมผัสโดน สิ่งของใกล้เคียงที่ไม่สะอาดได้ โดยการจับบริเวณ ส่วนปลายของสายสวน ปัสสาวะ ด้านนอก ห้ามโดนปลายสายสวนอีกด้านที่จะสอดเข้าที่ท่อปัสสาวะ
6.ป้ายเจลหล่อลื่นบริเวณปลายสายสวนปัสสาวะที่จะสอดเข้าท่อปัสสาวะ
7.ใช้ มือข้างที่ไม่ถนัดแหวกอวัยวะ เพื่อให้เห็นท่อปัสสาวะ ส่วนมือขวา หรือมือข้างที่ถนัดจับบริเวณส่วนปลายของสายสวนปัสสาวะ โดยจับแบบจับปากกา ค่อยๆ สอดสายสวนปัสสาวะที่หล่อลื่นเจลได้ ขยับชามหรือภาชนะสะอาดที่เตรียมไว้ใส่ปัสสาวะเข้ามาลองใต้สายสวนสอดสายสวน เข้าไปประมาณ 1/2 ของสาย หรือจนมีน้ำปัสสาวะออกมา จับสายสวนให้อยู่กับที่ปล่อยมืออีกด้านที่แหวกอวัยวะ มาช่วยกดบริเวณท้องน้อยจนน้ำปัสสาวะ ไม่ไหลลงมาอีกค่อยๆ ขยับสายสวนปัสสาวะออกมา จนหมด
8.บันทึกจำนวนปัสสาวะ สังเกตสี กลิ่น และความใส ไว้รายงานแพทย์เมื่อท่านมาพบแพทย์ครั้งต่อไป
9.ล้างอุปกรณ์สายสวน หรือแท่งแก้วด้วยสบู่ และให้น้ำผ่านภายในสาย หรือ แท่งแก้ว และเช็ดให้แห้งเก็บไว้ในกล่องที่แห้ง สะอาด สังเกตว่าหากสายอ่อน นิ่ม หรือเปลี่ยนสีมาก หรือแท่งแก้วมีการชำรุดให้เปลี่ยนสายใหม่
หมายเหตุ ควรเปลี่ยนน้ำยาที่แช่สายทุก 7 วัน

ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)
ผู้ประพันธ์

นพ. วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
ที่ปรึกษา

Scroll to Top