วิจัยและการพัฒนา

Research Activities

Clinical research

  •  โรงพยาบาลวัฒโนสถ 3 โครงการ
  •  ศูนย์สมอง 9 โครงการ
  •  ศัลยกรรมทั่วไป 1 โครงการ
  •  ศูนย์อาชีวะเวชศาสตร์ 1 โครงการ
  •  สถาบันทัตนกรรม 1 โครงการ
  •  โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ 5 โครงการ
  •  ศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์กรุงเทพ 1 โครงการ
  •  ศัลยกรรมกระดูก 1 โครงการ
  •  University of Illinois at Urbana-Champaign ร่วมกับเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ 1 โครงการ

Biomedical researh

ทิศทางการวิจัยที่จะก่อประโยชน์กับงานบริการคือการหาวิธีการรักษาอาการป่วย ป้องกันตลอดจนส่งเสริมสุขภาพก่อนป่วย มากกว่าความเข้าใจพยาธิวิทยาหรือสาเหตุของการป่วยเฉยๆ ตัวอย่างเช่น ในการวิจัยด้านสมองและประสาทวิทยา ความรู้ที่ว่า Amyloid beta, Tau protein มีความสัมพันธ์กับการเป็น Alzheimer’s Disease นั้นอาจจะช่วยให้สามารถตรวจพบผู้ที่กำลังจะป่วย หรือมีโอกาสป่วยมากกว่าผู้อื่น แต่ยังไม่ทราบว่าจะให้การดูแลเพื่อป้องกันอย่างไร จำต้องมีความรู้เพิ่มเติม เช่นเรื่อง Glympatic function กับการนอนหลับ ตลอดจนการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันเพื่อขจัด Amyloid beta ออกจากระบบประสานส่วนกลาง เพื่อประวิงการดำเนินโรค เป็นต้น ทิศทางการวิจัยเช่นนี้มักจะเกิดจากความร่วมมือแบบสหวิชาชีพ ตั้งแต่แพทย์ผู้ทำการรักษา แพทย์ด้านเวชกรรมป้องกัน และพยาบาล เภสัชกร ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญทางห้องปฏิบัติการ เพื่อนำความรู้จากหลายๆมุมมาประกอบกัน

องค์ประกอบที่สำคัญประการหนึ่งที่จะสร้างคุณค่างานวิจัยทางชีวะการแพทย์ คือ การมี Biobank (เดิมเรียก specimen repository) ซึ่งสามารถเริ่มดำเนินการได้ ด้วยความร่วมมือระหว่างศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ แพทย์ผู้ทำวิจัย และ N-Health ซึ่งในเรื่องนี้ ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ได้เริ่มความร่วมมือภายในแล้ว และจะขยายความร่วมมือกับหน่วยงานที่มีเครื่องมือ ความรู้ ประสบการณ์สูง เช่น คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และสถาบันชีวะวิทยาศาสตร์โมเลกุล (Institute of Molecular Bioscience) มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นต้น โดยจะเชื่อมโยงในระดับโครงการวิจัยก่อน แล้วจึงขยายเป็นระดับหน่วยงานต่อไป

BDMS Research Manual

Routine to research

การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R – Routine to Research) เป็น วิธีพัฒนาบุคลากร สำหรับการวิจัยที่เหมาะกับบริบทของโรงพยาบาลกรุงเทพ เพราะแนวคิดของ R2R คือ การนำปัญหาจากงานประจำที่ทำทุกวัน มาเป็นโจทย์สำหรับทำวิจัย ซึ่งจะเปลี่ยนปัญหาหน้างาน ให้เป็นผลงานวิจัย

ที่ผ่านได้มีบุคลากรทางการแพทย์ทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาลกรุงเทพขอเข้ารับคำปรึกษาทางด้านงานวิจัยเป็นจำนวนมาก เช่น การตั้งคำถามการวิจัย การตั้งวัตถุประสงค์การวิจัย กรอบแนวคิด การสืบค้นฐานข้อมูล ระเบียบวิธีวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ การคำนวณขนาดตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูล การแปลผล และแนวทางการนำเสนอผลงานวิจัย ในการนี้ ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพได้จัดทีมวิทยากรสนับสนุนการทำวิจัยเพื่อให้คำปรึกษาในงานวิจัย R2R เพื่อเพิ่มมาตรฐานคุณภาพของงานวิจัย ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์จากการทำงานประจำสู่งานวิจัยในบุคลากรของเครือโรงพยาบาลกรุงเทพและขับเคลื่อนให้บุคลากรเห็นคุณค่าของงานประจำ พัฒนากระบวนการทำงานให้ดีขึ้น ซึ่งจากการให้คำปรึกษานี้ได้กระตุ้นให้เกิดงานวิจัยมากขึ้น

Medical Data Analytics

นักวิจัยและผู้เชียวชาญส่วนใหญ่คุ้นเคยกับการวิเคราะห์ข้อมูลโครงการวิจัยแบบเป็นโครงการๆไป (project based data analysis) ซึ่งจะตอบคำถามการวิจัยได้ทีละไม่กี่คำถาม และมักจะเป็นคำถามเฉพาะเจาะจง เช่น การรักษาด้วยวิธีใหม่ ยาใหม่ ดีกว่าวิธีเดิม ยาเดิม เพียงไร หรือเช่น ความสัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรค เป็นต้น ซึ่งทำให้เกิดข้อจำกัดในการนำข้อมูลที่มีอยู่แล้วมาใช้ประโยชน์ เพราะจะต้องทำข้อมูลให้สะอาด ครบถ้วนถูกต้องก่อน (Data cleansing) จึงจะทำการวิเคราะห์ได้ผลที่แม่นยำ แต่สำหรับสถานการณ์ของโรงพยาบาล ซึ่งมีข้อมูลใหม่เข้ามาตลอดและความครบถ้วนถูกต้องยังคงเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตก ความท้าทายที่จะสามารถนำข้อมูลที่มีอยู่แล้วมาใช้ให้เกิดประโยชน์ให้ได้ ตลอดจนการสร้างระบบการไหลของข้อมูลที่มาจากอุปกรณ์ใหม่ (wearable devices, point of care devices) ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์เต็มที่ เป็นโจทย์ที่ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพต้องการหาคำตอบ โดยใช้วิธีการแบบ Data analytics (วิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ หรือมองอนาคต มากกว่าแบบ analysis ซึ่งเป็นการวิเคราะห์แบบแยกแยะและมองสิ่งที่เป็นอยู่หรือผ่านไปแล้ว) ในเรื่องนี้ ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ได้เริ่มโครงการ Medical Data Management for Research (MDM-R) ซึ่งเป็นโครงการนำร่องสำหรับโครงการใหญ่ Medical Data Management ของโรงพยาบาล

โครงการ MDM-R นี้ จะเป็นความร่วมมือระหว่างศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพกับผู้เชี่ยวชาญบริษัทกรีนไลน์ ซินเนอรจี่ และคณะอาจารย์ตลอดจนนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang – KMITL) สำหรับหาคำตอบว่า ข้อมูลที่มีอยู่ และที่กำลังไหลเข้ามาเรื่อยๆสู่ฐานข้อมูลของโรงพยาบาล แม้จะมีความครบถ้วนเพียง 30% จะสามารถชี้แนะแนวทางการทำวิจัยแบบ Project based research ได้อย่างไร

แนวทางการทำงานวิจัยในโรงพยาบาล