BHRC Research Weekly

Classifying simple diseases Part 3

สองตอนที่แล้วเล่าถึง การวิจัยร่วมกันระหว่างUM กับ ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเรื่องการแยกว่าโรคใดควรจะถูกเรียกว่าเป็น simple disease และสรุปได้ว่าค่า RW = 0.4 เป็นค่าที่เหมาะสมที่สุดเมื่อพิจารณาจากรายชื่อ Simple disease ที่ได้รับมาและจากการจำลองสถานการณ์กับข้อมูล Closed chart review ปี พ.ศ. 2560 (ค.ศ. 2017) ในตอนนี้จะเสนอแนวคิดที่2 คือการติดตามดูว่า % Simple disease ของโรงพยาบาลระดับต่างๆ ควรจะอยู่ในช่วงเท่าไรจึงจะเหมาะสม

คณะผู้วิจัยได้ใช้ค่า RW = 0.4 กับข้อมูลผู้ป่วย พ.ศ. 2560 (ค.ศ. 2017) จำนวน 366,576 ราย จำแนกว่าการวินิจฉัยแต่ละรายเป็น Simple disease ตามเกณฑ์ RW 0.4 หรือไม่ จากนั้นนำมาคำนวณหาค่ามัธยฐาน (Median) ของ %Simple disease และจำแนกตามความซับซ้อนของโรงพยาบาลออกมาเป็น 4 กลุ่ม นำผลมาเปรียบเทียบกับค่ามัธยฐานของ %Simple Disease ที่ตัดสินไว้ก่อนแล้วได้ผลสอดคล้องกันดี ดังในตารางนี้

Table Recommended levels of %Simple Disease to be used for various hospital complexity

จะเห็นได้ว่าโรงพยาบาลแต่ละระดับในปัจจุบันมีค่าสัดส่วนของผู้ป่วยที่เป็น Simple disease จำเพาะตามระดับของโรงพยาบาลอยู่แล้ว

คณะผู้วิจัยจึงเสนอให้ใช้ค่า median %Simple disease ตามการตัดสินด้วยการใช้ค่า RW = 0.4 (คอลัมน์ที่ 4 จากซ้ายมือ) เป็นจุดตั้งต้นในการหาระดับร้อยละของโรคง่าย (% Simple disease) โดยปัดให้เป็นจำนวนเต็มคิดเป็นค่าต่ำสุดสร้างเป็นช่วงโดยการบวกอีก 10% สำหรับแต่ละช่วงได้ “ข้อเสนอแนะ” ในการเฝ้าติดตามของโรงพยาบาลแต่ละระดับ (Proposed group specific yellow zone) ดังในคอลัมน์ขวาสุดของตาราง ซึ่งหมายความว่า

  • หากมีค่าร้อยละของโรคง่าย (% simple disease) อยู่ต่ำกว่าช่วงนี้ ก็ถือว่าอยู่ในพื้นที่สีเขียว green zone ซึ่งต้องการเพียงการเฝ้าดูเท่านั้น
  • หากค่าร้อยละ (% simple disease) เพิ่มขึ้นเข้ามาอยู่ใน yellow zone ผู้บริหารก็ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ
  • หากสถานการณ์ไม่คลี่คลายจนร้อยละ (% simple disease) เพิ่มจนสูงกว่าค่าบนสุดของ yellow zone ก็อาจเข้าสู่ red zone ต้องแก้ไขอย่างจริงจังเร่งด่วน

ด้วยความร่วมมือระหว่างผู้บริหารและภาคีบริษัทประกันภัยด้วยกัน คณะผู้วิจัยเชื่อว่าวิธีนี้จะช่วยให้การใช้ทรัพยากรของทุกฝ่ายเป็นไปในทางที่เหมาะสมยิ่งขึ้น

ทั้งนี้การกำหนดค่าสูงสุดต่ำสุดของ yellow zones อาจจะมีการปรับเปลี่ยนได้ ขึ้นกับข้อมูลที่จะนำมาวิเคราะห์โดยน่าจะเป็นความร่วมมือกันระหว่างฝ่ายโรงพยาบาลและภาคีบริษัทประกันภัย

ข้อมูลที่มีความชัดเจนมากขึ้น ค่าต่างๆดังที่เสนอมา(ทั้ง RW และ yellow zone) ก็จะได้รับการกำหนดอย่างมีเหตุมีผล เหมาะกับสถานการณ์ ผู้สนใจ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากบทความ Rational Classification of Simple Disease Cases in Bangkok Dusit Medical Services Hospitals using Relative Weight and Case Mixed Index ที่ตีพิมพ์ในวารสาร The Bangkok Medical Journal 2019, Volume 15, number 2; September 2019, pages 130 – 139.

Reference : จิณหธาน์ ปัญญาศร ชัยยศ คุณานุสนธิ์