BHRC Research Weekly

Improving indoor air quality by using Plant (Epipremnum aureum)(พลูด่าง)

คุณภาพอากาศในอาคารเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ นำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้จากงานวิจัยพลูด่าง ที่โรงพยาบาลกรุงเทพระยอง ได้มีศึกษาผลการใช้พลูด่าง (Epipremnum aureum) ในการปรับปรุงคุณภาพอากาศในสำนักงานเพื่อลดอาการเจ็บป่วยจากอาคาร(Sick building syndrome–SBS) ของพนักงานธุรการที่ทำงานเกี่ยวกับเครื่องถ่ายเอกสารและจัดพิมพ์เอกสาร ได้ทำการเปรียบเทียบก่อนและหลังการจัดวางต้นพลูด่างโดยวัดระดับคาร์บอนไดออกไซด์ร่วมกับปริมาณฝุ่นละอองขนาด 2.5 และ 10 ไมครอน ด้วยเครื่องมือมาตรฐานตามประเทศสหรัฐอเมริกา และสัมภาษณ์กลุ่มอาการเจ็บป่วยจากอาคาร ของพนักงานธุรการในพื้นที่นั้นๆ โดยทำการศึกษาเป็นเวลา 6 สัปดาห์ วัดคุณภาพอากาศ 6ครั้ง และสัมภาษณ์อาการ3 ครั้ง

ผลการวิจัยบ่งชี้ว่า ต้นพลูด่างสามารถลดระดับคาร์บอนไดออกไซด์ และลดความเข้มข้นของอนุภาคแขวนลอยในอากาศได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และผู้วิจัยยังพบว่าภายหลังการจัดวางต้นพลูด่างในสำนักงาน พนักงานมีอาการป่วยจากอาคารลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ (p < 0.05

สรุปประโยชน์ของพลูด่างในงานวิจัยนี้ คือพลูด่างมีกลไกการลดความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อธิบายได้โดยง่ายจากกระบวนการสังเคราะห์แสงของพลูด่าง ส่วนกลไกการลดปริมาณฝุ่นอนุภาคแขวนลอยนั้นเป็นกระบวนการดักจับฝุ่นเข้าทางปากใบและสลายตัวไปเป็นแร่ธาตุต่างๆโดยเอนไซม์ในใบของพืชและใช้ในกระบวนการเจริญเติบโตของพืชต่อไป ผู้สนใจงานวิจัยนี้ สามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก พญ.เกวลี แสดงฤทธิ์ (พญ.แตงโม) ที่ [email protected]

Authors: เกวลี แสดงฤทธิ์,ชัยยศ คุณานุสนธิ์