สเต็มเซลล์ของระบบประสาทเป็นอย่างไร
สเต็มเซลล์ของระบบประสาทเป็นอย่างไร
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าเซลล์สมองของหนูในส่วนฮิปโปแคมปัสและอัลแฟคตอรีบัลบ์ สามารถแบ่งตัว
เป็นเซลล์ประสาทตัวใหม่ได้ การค้นพบครั้งนั้นเกิดขึ้นมานานกว่าสามสิบปีแล้ว แต่ความเชื่อเดิมที่ว่า
เซลล์ประสาทไม่สามารถแบ่งตัวได้ ทำให้แนวความคิดนี้ไม่ได้รับการยอมรับอยู่เป็นเวลานาน จน
กระทั่งงานวิจัยพิสูจน์แน่ชัดว่าสเต็มเซลล์ของระบบประสาทสามารถแบ่งตัวและพัฒนาไปเป็นเซลล์
สำคัญของระบบประสาทสามชนิดคือ นิวโรนหรือเซลล์ประสาท เซลล์ชนิดแอสโตรซัยท์ และเซลล์
ชนิดโอกิโกเดนโดรซัยท์
ปัจจุบันเป็นที่ทราบดีว่าสเต็มเซลล์ของระบบประสาทนั้นมีอยู่จริง ทั้งในเนื้อเยื่อสมองของทารกในครรภ์
และในสมองของผู้ใหญ่ สเต็มเซลล์เหล่านี้สามารถแบ่งตัวและพัฒนาไปเป็นเซลล์ชนิดต่างๆของระบบ
ประสาทมากมายหลายชนิด ยกตัวอย่างเช่นเซลล์ต้นแบบของเซลล์ประสาท ที่เรียกว่า นิวโรบลาสต์
สามารถแบ่งตัวและพัฒนาไปเป็นเซลล์ประสาทหรือนิวโรนซึ่งมีหลายชนิดแตกต่างกันไปตามการทำ
หน้าที่ในส่วนต่างๆของสมอง ในขณะที่สเต็มเซลล์ที่ให้กำเนิดเกลียลเซลล์ มีความสามารถที่จะแบ่งตัว
และพัฒนาไปเป็นเซลล์ชนิดแอสโตรซัยท์และโอลิโกเดนโดรซัยท์ แอสโตรซัยท์เป็นเกลียลเซลล์ชนิด
หนึ่ง ทำหน้าที่ช่วยเซลล์ประสาททั้งการคงรูป และเป็นหน่วยเมตาบอลิกที่สำคัญของเซลล์ประสาทหรือ
นิวโรน เซลล์ชนิดแอสโตรซัยท์มีมากถึงร้อยละ 70-80 ของเซลล์ในระบบประสาททั้งหมดส่วนโอลิโก
เดนโดรซัยท์ทำหน้าที่สร้างสารมัยอีลิน ซึ่งเป็นสารไขมันที่ห่อหุ้มแอกซอน ช่วยเพิ่มความสามารถใน
การนำกระแสประสาท
ในภาวะปกติ สเต็มเซลล์ชนิดนิวโรนอลจะไม่สามารถพัฒนาไปเป็นเกลียลเซลล์ได้เลย ในขณะเดียวกัน
เซลล์ต้นกำเนิดเกลียลเซลล์ก็จะไม่สามารถพัฒนาไปเป็นนิวโรนได้เช่นกัน ในทางตรงกันข้ามสเต็ม
เซลล์ของระบบประสาทของทารกในครรภ์และของสมองผู้ใหญ่สามารถพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปเป็นนิว
โรน แอสโตรซัยท์ และโอลิโกเดนโดรซัยท์ได้ทั้งสามชนิด ทั้งนี้ขึ้นกับปัจจัยที่สำคัญสองประการ
- ประการแรก คือ สัญญาณที่สเต็มเซลล์เหล่านั้นได้รับ
- ประการที่สอง คือ สภาพแวดล้อมภายในเนื้อเยื่อสมองซึ่งเป็นสภาพสามมิติ
ขณะนี้เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าในเนื้อเยื่อสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดมีสเต็มเซลล์อยู่จริงแต่
ที่ยังไม่ทราบคำตอบที่ชัดเจน คือ เรื่องของชนิดและปริมาณของกลุ่มสเต็มเซลล์หรือเซลล์ต้นกำเนิดที่
มีอยู่ภายในเนื้อเยื่อสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมรวมทั้งความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันของสเต็มเซลล์ใน
แต่ละกลุ่ม ตลอดจนการทำหน้าที่ของแต่ละกลุ่มที่มีความหลากหลายแตกต่างกันไป ข้อจำกัดในการ
ศึกษาสเต็มเซลล์ของระบบประสาทประการหนึ่งคือยังไม่สามารถระบุชนิดของเซลล์ที่มีอยู่ในร่างกาย
ได้ทางห้องปฏิบัติการยังจำเป็นต้องแยกเซลล์และทดสอยในหลอดทดลอง ซึ่งวิธีดังกล่าวทำให้
คุณสมบัติบางประการของสเต็มเซลล์เหล่านั้นเปลี่ยนไป
สเต็มเซลล์ของระบบประสาทถือว่าเป็นสเต็มเซลล์จ
ากร่างกายที่ได้รับความสนใจมากที่สุดอย่างหนึ่ง สเต็มเซลล์จากร่างกายเป็นสเต็มเซลล์ที่ไม่ได้ทำ
หน้าที่เฉพาะเจาะจงที่พบในอวัยวะต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วภายในอวัยวะแต่ละชนิดจะประกอบได้ด้วย
เซลล์ของอวัยวะนั้นที่ทำหน้าที่เฉพาะอย่างสเต็มเซลล์จากร่างกายที่อยู่ในอวัยวะนั้นๆ จึงยังคงสามารถ
แบ่งตัวเองขึ้นมาใหม่ และพัฒนาดิฟเฟอเรนชิเอทไปเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจงได้บทบาทของ
สเต็มเซลล์จากร่างกายในร่างกายสิ่งมีชีวิตที่สำคัญคือการซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอหรือเสียหายไป ข้อ
แตกต่างที่สำคัญระหว่างสเต็มเซลล์จากร่างกายกับสเต็มเซลล์จากตัวอ่อนคือกำเนิดหรือที่มาของเซลล์
เหล่านั้น โดยสเต็มเซลล์จากตัวอ่อนมีกำเนิดมาจากกลุ่มเซลล์ด้านในของบลาสโตซิสต์ ในขณะที่สเต็ม
เซลล์จากร่างกายนั้นยังไม่ทราบแน่นอนว่ามีกำเนิดมาจากที่ใด
งานวิจัยเกี่ยวกับสเต็มเซลล์จากร่างกายสร้างความตื่นเต้นให้กับวงการแพทย์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งเมื่อนักวิทยาศาสตร์เริ่มค้นพบสเต็มเซลล์จากร่างกายในเนื้อเยื่อมากมายหลายชนิด ซึ่ง
มากกว่าที่เคยทราบกันมาก่อน และบางอย่างก่อนหน้านี้ไม่เชื่อว่าจะพบสเต็มเซลล์ด้วยซ้ำไป การค้น
พบเหล่านี้ทำให้เกิดคำถามที่สำคัญเพื่อจะพยายามนำ สเต็มเซลล์จากร่างกายไปใช้ในการปลูกถ่ายเข้า
สู่ร่างกายผู้ป่วย จริงๆแล้ว สเต็มเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด ถูกนำมาใช้ในการปลูกถ่ายตั้งแต่เมื่อ
ประมาณ 30 ปีที่แล้ว ระยะหลังมานี้ก็พบว่าสเต็มเซลล์จากร่างกายอีกหลายชนิดมีความสามารถพัฒนา
ดิฟเฟอเรนชิเอทไปเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะได้เช่นกันสิ่งสำคัญคือ ต้องกำหนดเงื่อนไขหรือวิธีการที่
ถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์สามารถควบคุมสเต็มเซลล์จากร่างกายที่เพาะเลี้ยงในห้อง
ปฎิบัติการให้สามารถดิฟเฟอเรนชิเอทไปเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจงได้ตามที่ต้องการ ซึ่งเซลล์
เหล่านั้นสามารถนำไปใช้ในการรักษาโรคต่างๆ ได้หลายชนิด โดยเฉพาะบรรดาโรคร้ายแรงที่พบได้
บ่อยๆ
ประวัติความเป็นมาของงานวิจัยเกี่ยวกับสเต็มเซลล์จากร่างกาย เริ่มต้นเมื่อประมาณ 40 ปีที่แล้ว นัก
วิทยาศาสตร์พบว่าภายในเนื้อเยื่อไขกระดูกประกอบไปด้วยสเต็มเซลล์อย่างน้อยสองชนิดด้วยกันสเต็ม
เซลล์ชนิดแรกเป็นเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด ซึ่งจะพัฒนาไปเป็นเม็ดเลือดชนิดต่างๆ ได้แก่ เม็ดเลือด
แดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ส่วนสเต็มเซลล์ชนิดที่สองทีอยู่ภายในไขกระดูกเป็นชนิดสโตรมัล
เซลล์ซึ่งถูกค้นพบสองสามปีต่อมา สโตรมัลเซลล์ประกอบไปด้วยส่วนผสมของเซลล์ต้นกำเนิดกระดูก
เซลล์ต้นกำเนิดกระดูกอ่อน เซลล์ต้นกำเนิดเซลล์ไขมัน และเซลล์ต้นกำเนิดเนื้อเยื่อเส้นใยประสาน
หรือไฟเบอร์ต่อมาไม่นานนักในช่วงทศวรรษ 1960 เช่นกัน นักวิทยาศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งค้นพบสเต็ม
เซลล์ต้นกำเนิดเซลล์ประสาท โดยทำการทดลองศึกษาวิจัยในหนูทดลอง สามารถค้นพบส่วนของ
สมองหนู 2บริเวณที่มีสเต็มเซลล์ต้นกำเนิดเซลล์ประสาท การค้นพบครั้งนั้นขัดแย้งกับความรู้เดิมที่เชื่อ
กันว่าเซลล์ประสาทไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ก็ยังคงเชื่อว่าเซลล์
ประสาทไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้และดูเหมือนจะไม่ค่อยยอมรับกับผลงานวิจัยชิ้นนั้น จนกระทั่งราว
สามสิบปีต่อมา ทฤษฏีว่าด้วยสเต็มเซลล์ต้นกำเนิดของเซลล์ประสาทถึงได้รับการพิสูจน์อย่างชัดเจน
และเป็นที่ยอมรับในที่สุดปัจจุบันพบว่าสเต็มเซลล์ต้นกำเนิดเซลล์ประสาทในระบบประสาทส่วนกลาง
ประกอบไปด้วยเซลล์ต้นกำเนิดเซลล์ประสาท และเซลล์ต้นกำเนิดเซลล์ชนิดแอสโตรซัยท์และโอลิโก
เดนโดรซัยท์
ขอขอบคุณ
คำสงวนสิทธิ์
รายงานฉบับนี้เป็นการนำเสนอข้อมูลที่ได้รวบรวมจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือในเชิงวิเคราะห์ มีวัตถุประสงค์ต้องการเผยแพร่เพื่อประโยชน์ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประโยชน์แก่ส่วนรวม ไม่ได้เจตนาแนะนำข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรค ตลอดจนไม่ใช่เพื่อการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อผลประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ จึงไม่ขอรับรองความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ และเป็นปัจจุบัน ของข้อมูลเกี่ยวกับยา โรค สาเหตุ อาการ วิธีการดูแลรักษา นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ บางส่วนยังไม่มีการรับรองผลของการใช้งาน รวมทั้งไม่มีหลักฐานรับรองที่สมบูรณ์ครบถ้วน ดังนั้น ผู้ใช้ข้อมูล ควรใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูลหรือปรึกษาผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพเพิ่มเติม หากมีการนำข้อมูลไปใช้โดยไม่ปรึกษาผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ทางศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการใช้ หรือการอ้างอิงข้อมูลจากรายงานฉบับนี้ และศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไข ดัดแปลงรายงานฉบับนี้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า