รางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ประจำปี พ.ศ.2548
รางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ประจำปี พ.ศ.2548
รางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ประจำปี พ.ศ.2548 เป็นของศาสตราจารย์ แบร์รี เจ มาร์แชลล์ และ
ศาสตราจารย์ เจ โรบิน วาร์เรน จากผลงานการศึกษาวิจัยจนค้นพบเชื้อแบคทีเรียชื่อ "เฮลิโคแบคเตอร์
ไพลอไร" (Helicobacter pylori) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคแผลในกระเพาะและกระเพาะอาหารอักเสบ
เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2548 สภาโนเบล ณ สถาบันวิจัยการแพทย์คาโรลินสกาแห่งสต็อกโฮม
ประเทศสวีเดนได้ประกาศรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาและการแพทย์ประจำปี 2548 โดยมอบรางวัลดัง
กล่าวให้แก่ศาสตราจารย์ แบร์รี เจ มาร์แชลล์ (Barry J. Marshall) จากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออสเตร
เลีย และศาสตราจารย์ เจ โรบิน วาร์เรน (J. Robin Warren) พยาธิแพทย์จากประเทศออสเตรเลีย
ศาสตราจารย์ เจ โรบิน วาร์เรน วัย 68 ปี เกิดในเมืองแอดิเลด ขณะนี้อาศัยอยู่ที่เมืองเพิร์ทซึ่งเขา
ทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญวิชาพยาธิวิทยาที่โรงพยาบาลรอยัลเพิร์ท จนถึงปี 2542 เป็นผู้ค้นพบแบคทีเรีย
ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะโค้ง ตัวเล็ก อาศัยอยู่ที่ส่วนปลายของกระเพาะอาหาร โดยพบแบคทีเรียชนิดนี้
มากถึงครึ่งหนึ่งของชิ้นเนื้อกระเพาะอาหารที่มาตรวจทางพยาธิวิทยา และสังเกตพบว่าเยื่อบุกระเพาะ
อาหารบริเวณรอบๆเชื้อแบคทีเรีย ปรากฎร่องรอยของการอักเสบเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง
ศาสตาจารย์ แบร์รี เจ มาร์แชลล์ วัย 54 ปี อาศัยอยู่ในเมืองคัลกูร์ลี รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย โดยทำวิจัย
อยู่ที่ศูนย์วิจัยการแพทย์ควีนส์อลิซาเบธที่ 2 ในเมืองเนดแลนด์ส เมื่อครั้งที่ท่านยังเป็นเฟลโลว์ทาง
อายุรศาสตร์ มีความสนใจในงานของศาสตราจารย์ เจ โรบิน วาร์เรน เป็นอย่างมาก และเริ่มต้นทำการ
ศึกษาวิจัยผลชิ้นเนื้อจากผู้ป่วยรวม 100 ราย จนในที่สุดสามารถเพาะเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวได้เป็นครั้ง
แรกและตั้งชื่อว่า "เฮลิโคแบคเตอร์ ไพลอไร" จากการศึกษาต่อมาพบเชื้อนี้ในผู้ป่วยโรคกระเพาะ
อาหารอักเสบและโรคแผลในกระเพาะอาหารเกือบทุกราย จึงได้นำเสนอรายงานทางการแพทย์ว่าเชื้อ
"เฮลิโคแบคเตอร์ ไพลอไร" น่าจะเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคแผลในกระเพาะและกระเพาะอาหารอักเสบ
ศาสตราจารย์มาร์เชลล์ เคยได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลในพระบรมราชูปถัมภ์สาขาสาธารณสุขซึ่ง
เป็นรางวัลอันทรงเกียรติอีกรางวัลของไทยเมื่อปี 2545 อีกด้วย
เชื้อแบคทีเรีย "เฮลิโคแบคเตอร์ ไพลอไร" เข้าสู่กระเพาะได้โดยการกลืนเข้าไปหรือขย้อนเชื้อจาก
ลำไส้มาอยู่ในกระเพาะอาหาร โดยปกติในกระเพาะอาหาร จะไม่มีเชื้อแบคทีเรีย หลังจากเชื้อเข้าสู่
กระเพาะอาหารจะใช้หนวดของมันว่ายเข้าไปฝังตัวในเยื่อเมือกบุผนังกระเพาะ และปล่อยน้ำย่อย เอ็น
ซัยม์ และสารพิษมาทำลายและกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุผนังกระเพาะอาหาร ด้วยกลไกนี้
ร่วมกับกรดที่หลั่งออกมาจากเซลล์เยื่อมูกกระเพาะ จะช่วยกันทำลายผนังกระเพาะให้มีการอักเสบและ
เกิดเป็นแผลได้ในที่สุด
การรักษาแผลในกระเพาะโดยการใช้ยาลดการหลั่งกรดสามารถทำให้แผลหายได้แต่ไม่สามารถฆ่า
เชื้อแบคทีเรียนี้ได้ เชื้อแบคทีเรียจะฝังตัวอยู่และรอเวลาที่จะกำเริบขึ้นมาใหม่ เป็นผลทำให้โรค
กระเพาะกำเริบอีก
การรักษาในปัจจุบันจึงมุ่งที่จะฆ่าเชื้อแบคทีเรียนี้ด้วย ปัจจุบันมีการค้นพบแนวทางการรักษาใหม่ โดย
ใช้ยา 3 ชนิด คือ ยาลดการหลั่งกรด 1 ชนิดร่วมกับยาปฏิชีวนะ 2 ชนิด ซึ่งเหตุที่ต้องให้ยาปฏิชีวนะถึง 2
ชนิดก็เพราะเชื้อตัวนี้ดื้อยาง่าย การให้ยาตัวเดียวไม่ได้ผล และเหตุที่ต้องให้ยาลดการหลั่งกรดเพิ่ม
เพราะยาปฏิชีวนะจะถูกทำลายโดยกรด ทำให้ประสิทธิภาพด้อยลง ซึ่งยาลดการหลั่งกรดจะทำให้กรด
น้อยลง ส่งผลให้ยาปฏิชีวนะทำงานดีขึ้นและกำจัดเชื้อได้ดีขึ้น อีกประการหนึ่งคือยาลดการหลั่งกรดจะ
ช่วยลดการปวดท้องได้ดี ในช่วงที่เชื้อยังไม่ถูกฆ่าตาย เพราะกว่าเชื้อจะถูกฆ่าต้องใช้เวลาเกิน 7 วันขึ้น
ไป หลังจากนั้นคนไข้จะหายเป็นปกติ และเมื่อติดตามไปหนึ่งปี พบว่าโอกาสที่เชื้อจะกลับมาเป็นซ้ำ
น้อยมากไม่ถึงร้อยละ 5-10
ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารในประเทศไทยมีมากถึงร้อยละ 20-25 ของประชากร และแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น
เรื่อยๆ ส่วนใหญ่จะอยู่ในวัยทำงาน คิดเป็นคนไข้ที่มีแผลในกระเพาะประมาณร้อยละ 10-20 โดยแผล
ในกระเพาะอาหารเป็นโรคที่มีภาวะแทรกซ้อนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เช่น มีเลือดออก แผลทะลุ
หากรักษาไม่ทันโอกาสตายสูง เชื้อแบคทีเรียนี้มีส่วนทำให้เกิดแผลในกระเพาะประมาณร้อยละ 50-70
ที่เหลือแผลในกระเพาะอาจเกิดร่วมกับการกินยาแก้ปวดหรือยาชุด
การวินิจฉัยเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะทำได้สองอย่างวิธีแรกอาศัยการส่องกล้อง แล้วตัดผนังบุกระเพาะ
ชิ้นเล็กๆ ไปตรวจหาเชื้อซึ่งเป็นการตรวจแอนติบอดี้ต่อเชื้อ ส่วนอีกวิธีหนึ่งเป็นการตรวจที่เรียกว่า
breath test เป็นการตรวจสารที่เชื้อแบคทีเรียสร้างขึ้นในกระเพาะและตรวจพบได้ในลมหายใจของผู้
ป่วย
ขอขอบคุณ
คำสงวนสิทธิ์
รายงานฉบับนี้เป็นการนำเสนอข้อมูลที่ได้รวบรวมจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือในเชิงวิเคราะห์ มีวัตถุประสงค์ต้องการเผยแพร่เพื่อประโยชน์ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประโยชน์แก่ส่วนรวม ไม่ได้เจตนาแนะนำข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรค ตลอดจนไม่ใช่เพื่อการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อผลประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ จึงไม่ขอรับรองความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ และเป็นปัจจุบัน ของข้อมูลเกี่ยวกับยา โรค สาเหตุ อาการ วิธีการดูแลรักษา นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ บางส่วนยังไม่มีการรับรองผลของการใช้งาน รวมทั้งไม่มีหลักฐานรับรองที่สมบูรณ์ครบถ้วน ดังนั้น ผู้ใช้ข้อมูล ควรใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูลหรือปรึกษาผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพเพิ่มเติม หากมีการนำข้อมูลไปใช้โดยไม่ปรึกษาผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ทางศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการใช้ หรือการอ้างอิงข้อมูลจากรายงานฉบับนี้ และศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไข ดัดแปลงรายงานฉบับนี้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า