การตรวจเต้านมด้วยตนเอง
การตรวจเต้านมด้วยตนเอง
การ ตรวจเต้านมด้วยตนเองมีความสำคัญอย่างยิ่งในสุภาพสตรีทุกคน ตั้งแต่วัยสาวเป็นต้นไปจนตลอดชีวิต เพราะการตรวจพบความผิดปกติได้เร็วเท่าใด การรักษาย่อมได้ผลดีเท่านั้น ผู้หญิงทุกคนควรฝึกหัดคลำเต้านมตนเองทุก 1 เดือน จะช่วยทำให้เกิดความชำนาญและคุ้นเคยกับความยืดหยุ่นของเต้านมปกติ ซึ่งหากมีอะไรผิดปกติเล็กๆ น้อยๆ ก็สามารถรู้สึกว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับเต้านมได้
ในแต่ละเดือน เวลาที่เหมาะสมในการตรวจเต้านมด้วยตนเองคือ 7 วัน ภายหลังมีประจำเดือน เต้านม
จะไม่ค่อยตึงและเวลาคลำจะไม่ค่อยเจ็บ แต่ถ้าหากท่านมีประจำเดือนมาไม่แน่นอน ท่านควรตรวจวัน
เดียวกันของทุกดเดือน เช่น ตรวจวันที่ 10 ของทุกเดือน เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงที่ท่านอาจ สังเกตจากอาการที่พบ เช่น ขนาดที่เปลี่ยนแปลง ผิวหนังบริเวณเต้านม
ที่เปลี่ยนแปลงบุ๋มลงหรือหดรั้ง มีของเหลวผิดปกติไหลออกจากหัวนม ผิวหนังเปลี่ยนสีออกไป เหล่า
นี้ท่านสามารถสังเกตการเปลี่ยนแปลงได้จากการส่องกระจกดู
สำหรับ การตรวจเต้านมด้วยตนเอง อาจทำได้ดังนี้ ถ้าต้องการตรวจด้านขวาให้นอนหงาย เอาหมอน
หนุนใต้ไหล่ขวา โดยใช้นิ้วชี้นิ้วกลางและนิ้วนางของมือซ้ายกดลงไปบริเวณเต้านมให้ทั่ว ซึ่งอาจใช้
คลำเป็นวงกลมรอบๆ หัวนมออกไป กว้างขึ้นเรื่อยๆ หรือคลำเป็นแนวตั้งแและแนวนอน จากซ้ายไป
ขวาหรือขวาไปซ้ายให้ทั่วเต้านม ให้เป็นระเบียบแบบแผนสม่ำเสมอ เพื่อจะได้ไม่หลงบางตำแหน่งที่
นึกว่าคลำแล้ว ถ้าต้องการตรวจเต้านมซ้ายก็ทำเช่นเดียวกันกับที่ได้กล่าวมาแล้ว
หวัง ว่าท่านคงพอเข้าใจนะคะ ทางที่ดีท่านควรรับคำแนะนำจากแพทย์หรือพยาบาลที่มีความชำนาญ
ในการสอนการตรวจ เต้านมด้วยตนเอง ในปัจจุบันมีวิดีโอสอนการตรวจ ซึ่งท่านสามารถหามาดูได้ไม่
ยาก จะทำให้ท่านทำตามได้ไม่ยาก ข้อสำคัญอยู่ที่ท่านต้องฝึกจนชำนาญและทำอย่างสม่ำเสมอ จะ
เป็นผลดีต่อตัวท่านอย่างแน่นอน
ขอขอบคุณ
คำสงวนสิทธิ์
รายงานฉบับนี้เป็นการนำเสนอข้อมูลที่ได้รวบรวมจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือในเชิงวิเคราะห์ มีวัตถุประสงค์ต้องการเผยแพร่เพื่อประโยชน์ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประโยชน์แก่ส่วนรวม ไม่ได้เจตนาแนะนำข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรค ตลอดจนไม่ใช่เพื่อการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อผลประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ จึงไม่ขอรับรองความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ และเป็นปัจจุบัน ของข้อมูลเกี่ยวกับยา โรค สาเหตุ อาการ วิธีการดูแลรักษา นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ บางส่วนยังไม่มีการรับรองผลของการใช้งาน รวมทั้งไม่มีหลักฐานรับรองที่สมบูรณ์ครบถ้วน ดังนั้น ผู้ใช้ข้อมูล ควรใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูลหรือปรึกษาผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพเพิ่มเติม หากมีการนำข้อมูลไปใช้โดยไม่ปรึกษาผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ทางศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการใช้ หรือการอ้างอิงข้อมูลจากรายงานฉบับนี้ และศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไข ดัดแปลงรายงานฉบับนี้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า